พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา )
แม่ทัพไทย ในสงครามโลกครั้งที่1
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494
พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์ สวามิภักดิ์อุดมศักดิ์เสนีย์ พิริยะพาหะ
เป็นบุตรชายคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน ของพันเอกหลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์
เกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ ณ.บ้านสำเพ็ง หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไร่เลี่ยกัน
ปฐมวัยและการศึกษา
ตามคตินิยมในสกุล ลูกข้าหลวงเดิมจะต้องเป็นมหาดเล็กหลวง มิฉะนั้นก็เรียกได้ว่าขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นเมื่อพระยาเทพหัสดิน มีอายุได้เพียง ๕ ปี ก็ได้ถูกนำตัวเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ ธูปเทียนเป็นมหาดเล็กหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า “เด็กคนนี้หน้าตาดีและคล่องแคล่ว ทั้งอายุอานามก็ไล่เลี่ยกับฟ้าชายใหญ่ ให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กฟ้าชายใหญ่เถิด จะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำตัวไปถวายดอกไม้ธูปเทียนให้เป็นมหาดเล็ก และเป็นเพื่อนเล่นกับกับเจ้าฟ้าชายพระองค์ใหญ่ คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งต่อมาได้ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร องค์ที่ ๑ ของกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่ออายุ ๗ ปีบิดาได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข ในสำนักขุนอนุกิจวิทูร แล้วจึงย้ายไปอยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนอายุ ๑๓ ปีหลังจากหลวงฤทธิ์นายเวรถึงแก่กรรมในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ มารดาว่า "ข้าจะเลี้ยงมันแทนพ่อของมันที่อายุสั้นนัก…" ต่อมาก็ย้ายไปเข้าโรงเรียนทหารที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม จนกระทั่งสำเร็จกลับเข้ามารับราชการทหารสนองพระเดชพระคุณนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นต้นมา
ขณะเมื่อครั้งที่ยังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทิวงคต จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสยามมกุฏราชกุมารพระองค์ต่อมา และให้บรรดามหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ก่อน โอนไปสังกัดขึ้นเป็นมหาดเล็กสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร พระยาเทพหัสดินจึงได้โอนสังกัดเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ
ชีวิตการทำงานและผลงาน
พลตรีพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)กับคณะนายทหารไทยที่ไปร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงเล็งเห็นการไกล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี และ ออสเตรีย-ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีพระบรมราชโองการเรียกผู้อาสาสมัคร เพื่อเดินทางไปร่วมรบยังสมรภูมิยุโรป มีคนสมัครเป็นจำนวนมาก ในเวลานั้นพระยาเทพหัสดินซึ่งยังมีตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เป็นนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะทูตพิเศษในตำแหน่งแม่ทัพไทยที่จะนำกองทัพทหารอาสาไทยเดินทางไปร่วมรบทวีปในยุโรป
เช้าวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในคำประกาศสงครามไปเมื่่อเวลา 00.00 น. ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสีหนาท สั่งให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิบดี จัดขบวนเสด็จพยุหยาาตราไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยทรงเห็นว่าเป็นวันมิ่งมหามงคลในรัชกาลของพระองค์ และ ก็เป็นประเพณีของไทยเรามาแต่โบราณกาล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเหล่านักรบที่จะออกราชการงานศี ก็คือการไปนมัสการพระอันเป็นที่เคารพสักการะบูชา เพื่อให้ทรงคุ้มครองป้องกันผองภัย
ครั้นได้เวลาพระฤกษ์ 7.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงจากพระที่นั่งชั้นบนในเครื่องแต่งพระองค์ที่ขนานนามว่า "พระมหาพิชัยยุทธ" อันเป็นเครื่องทรางสืบเนื่องมาทางประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องทรงสำหรับกษัตริย์ในยามออกศึกสงคราม ซึ่งประกอบด้วยพระภูษาม่วงไหมสีแดงเลือดนก ทรงนุ่งโจงกระเบนแบบไทยเดิม ฉลองพระองค์แพงสีแดงเช่นเดียวกันเป็นแบบผ่าอกครึ่งหนึ่ง กลัดกระดุมโลหะห้าเม็ด คอตั้งแบบราชการมีจีบรอบไหล่เล็กน้อย แขนยาวพับปลายข้อมือ ชายฉลองพระองค์ยาวลงมาจรดเหนือพระชงค์เล็กน้อง มีผ้าคาดฉลองพระองค์ผูกห้อยชายไว้ข้าซ้าย ถุงพระบาทและรองพระบาทสีแดงทั้งชุด เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทรงพระสังวาลย์นพรัตน์ราชวราภรณ์ ทรงพระแสงดาบคาบค่าย ทรงทัดใบสนที่พระกรรณเบื้องซ้าย ทรงถือใบยอพระหัตนถ์เบื้องขวา ไม่ทรงพระมาลา
กล่าวกันว่า ฉลองพระองค์ชุดนี้ ได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ช่างตัดฉลองพระองค์เตรียมทำไว้ล่วงหน้าแล้ว และกล่าวกันว่า การฉลองพระองค์เช่นนี้ ก็คล้ายกับพระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาสู่เป็นมิ่งขวัญและถือเป็นศุภนิมิตรอันดีงาม เป็นวันเสี่ยงพระบารมีของพระองค์ และ พระแสงดาบคาบค่ายที่ทรงถือด้วยพระหัตถ์ซ้ายนั้นเป็นพระแสงองค์จริงอันล้ำค่า ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้เป็นพระแสงคู่พระหัตถ์ปราบข้าศึกพม่ามาแต่ครั้งกู้ชาติไทยในสมัยโบราณ
ทหารอาสาไทยที่ไปรบในสงครามนั้นมีจำนวน 1500 คน โดย 500 คน สังกัดกองบินทหารบก มีนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้บังคับกอง อีก 1000 คน สังกัดกองทหารบกรถยนต์ มีนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) ซึ่งต่อมาได้เป็น นายพันโท พระอาสาสงคราม เป็นผู้บังคับกอง ทหารอาสากองทหารบกรถยนต์เหล่านี้ ภายหลังสงครามได้ร่วมกับพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ก่อตั้ง บริษัท แท็กซี่สยาม ขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2466 สมัยนั้นเรียกกันว่า "รถไมล์" เก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง
กองทัพทหารไทยออกเดินทางโดยทางเรือ เมื่อวันที่ 11มกราคม 2461 ผู้ที่เข้าอาสาสมัคร ส่วนมากไม่มีความรู้ในทางยุทธวิธี หรือ การใช้เครื่องมือรบสมัยใหม่เลย ที่อาสาเข้ามาล้วยแต่เป็นคนไทยใจกล้าหาญทั้งสิ้น ต้องอบรมจนพอรู้ระเบียบวินัยนานถึง 6 เดือน จึงพร้อมที่จะออกเดินทางได้ และยังต้อฝึกภาษาหัดฟังคำสั่งและการใช้อาวุธสมัยใหม่ในขณะนั้น การฝึกหัดขับรถยนต์ หรือกองบินล้วนต้องฝึกใหม่ทั้งฃสิ้น จนกระทั่งทหารของเราแข้มแข็งแล้ว จึงพร้อมที่จะขึ้นแนวหน้าเพื่อร่วมรบอย่างองอาจกล้าหาญยิ่งกว่าบางชาติที่ได้เคยรบในแนวหน้ามาก่อน
จนกระทั่งธงไชยเฉลิมพลของไทยได้รับเหรียญ Crox de Guere หรือเหรียญกล้าหาญ อันหมายถึงทหารอาสาของไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับเหรียญอันมีเกียรตินี้ด้วย นอกจากนี้เมือเสร็จสงครามโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารไทยยังมีสิทธิ์ได้ไปร่วมพิธีสวนสนามในสามนคร (ปารีส-ลอนดอน-บรัสเซล) ด้วยความาสง่างามและภาคภูมิในความสามารถของทหารไทย ที่สำคัญที่สุดคือ ผลแห่งการเข้าร่วมในสงครามครั้งนั้น ทำให้ไทยได้รับเอกราชทางศาล มีสิทธิ์เทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาอารยชาติ
ผลแห่งการที่พลตรีพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ในฐานะหัวหน้าทูตทหาร หรือ แม่ทัพไทยในครั้งนั้น ควรโด่งดังเป็นพลุ เพราะได้นำชื่อเสียงและความสำเร็จกลับมาสู่มาตุภภูมิ กลับกลายเป็นความกินแหนงแคลงใจในหมู่เพื่อนนายทหารด้วยกัน
เมื่อกลับมาถึงท่าราชวรดิษฐ์ ( 1 พฤษภาคม 2462) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดรถพระที่นั่งม้าเทียม 4 สารถึ สวมเสื้อเต็มยศ ไปรับจากท่าราชวรดิษฐ์ถึงหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง แล้วไปส่งที่กระทรวงกลาโหม สองข้าทางมีประชาชนต้อนรับคับคั่ง ได้รับพระราชทานสัมผัสโดยทรงสวมกอดต่อหน้าแถวทหารยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ท่านแม่ทัพอย่างสุดซึ้ง
แต่พอพ้พระที่นั่งก็ได้พบกับความึนตึงของเพื่อนายทหารด้วยกัน เนื่องจากมีความขัดแย้งทางเทคนิคยุทธวิธี ซึงความขัดแย้งกับผู้ใหญ่ในขณะนั้น เมื่อเสร็จสงครามโดยสัมธันธมิตรเป็นฝ่ายมีชัย ก็หมายความว่าท่านเป็นฝ่ายถูก ทหารไทยของเรามีเกียรติ มีวินัย และกล้าหาญไม่กลัวตาย ผิดกับคำฟ้องร้องลับหลังทุกประการ
ด้วยเหตุฉะนี้ ท่านเจ้าคุณแม่ทัพจึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ แต่ทรงโปรดให้โอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือนในราชทินนาม พระยาเทพหัสดิน ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครสวรรค์และราชบุรี พ้นจากราชการทหาร พ้นจากความอิจฉาริษยาจากเพื่อนนายทหาร ไกลจากสายสะพายและตรารามาธิบดี เสมือนหนึ่งดวงตรานี้มิได้ทรงกระกรุณาสร้างขึ้นเพื่อตัวท่านอันเป็นตัวแทนพระองค์ในสมรภูมิไกลโพ้นเลย
มรสุมในชีวิต
เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล รวมทั้งผู้อยู่เบี้องหลัง ที่พยายามจะลอบสังหาร หลวงพิบูลสงคราม โดยจับกุมผู้ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืด ของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ มีพันเอกหลวงพรหมโยธี เป็นประธาน ศาลพิเศษนี้ได้ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำ และตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักโทษจำนวน 21 คน คือ
1. นายลี บุญตา - คนรับใช้ในบ้านหลวงพิบูลสงคราม ที่เคยใช้ปืนไล่ยิงหลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
2. พันโท พระสุระรณชิต
3. ร้อยโท ณ เณร ตาละลักษณ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระนคร
4. นายดาบ พวง พลนาวี - พี่ชายคุณหญิง ภรรยาพระยาทรงสุรเดช
5. พลโท พระยาเทพหัสดิน
6. นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
7. ร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
8. ร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์
9. นายทอง ชาญช่างกล
10. พันเอก หลวงมหิทธิโยธี - ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี
11. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
12. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ - อดีตรัฐมนตรี
13. ร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ - นายทหารประจำกองบังคับการโรงเรียนรบ
14. พันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท
15. พันตรี หลวงไววิทยาศร
16. พันเอก พระสิทธเรืองเดช อดีตรัฐมนตรี
17. จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี
18. ร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
19. ร้อยโท แสง วัณณศิริ - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
20. ร้อยโท สัย เกษจินดา - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
21. ร้อยโท เสริม พุ่มพวง - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
ศาลพิเศษได้เว้นโทษประหารชีวิต คงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน คือ
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
2. พลโท พระยาเทพหัสดิน
3. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชาย 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมดได้กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำบางขวาง ต่อมาถูกย้ายไปคุมขังที่สถานกักกันนักโทษการเมือง เกาะตะรุเตา และย้ายไปที่เกาะเต่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมา
20 กันยายน 2490 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนครและได้พระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษการเมือง เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ท่านเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นที่ได้รับพระราชทานนิรโทษกรรมในครั้งนี้
ในระหว่างที่ต้องโทษจำคุก ศาลพิเศษพิจารณาถอดยศฐาบรรดาศักดิ์ของท่าน ท่านก็ไม่ว่ากระไร แต่การจะเรียกรัตนาภรณ์และรัตนวรภารณ์ คืนนั้นท่านไม่ยอมคืนให้ เพราะท่านถือว่าพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ท่านเป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งในที่สุดทางกระทรวงการคลังก็ตีราคาเหรียญตราทั้ง 2 นี้เป็นเงิน ทางครอบครัวก็ได้จ่ายคืนให้ไปตามราคาที่เรียกร้องมา นอกจากนั้นยังจะเรียกคืนเหรียญตราต่างประเทศคืนอีก แต่ท่านเจ้าคุณก็ไม่ยอมให้เพราะการได้รับพระราชทาน K.C.M.G. ชั้นที่2 จากพระหัตถ์ของพระเจ้ายอร์ชแห่งอังกฤษนั้น ท่านได้เป็นท่านเซอร์ของอังกฤษด้วย ถ้าจะเรียกคืน ทางสถานพูตอังกฤษมีหน้าที่จัดการเรียกคืนเอง ทางครอบครัวก็ได้ติดต่อไปยังสถานพูตอังกฤษ เพื่อขอทราบถึงเรื่องนี้ ทางสถานพูตได้ตอบมาอย่างน่าชื่นใจว่า พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระราชทานตรานี้แล้ว ไม่เคยเรียกคืนและยังตกทอดไปถึงบุตรคนโตของสกุลอีกด้วย
ไลังจากได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม แล้ว ท่านได้รับพระราชทานคืนยศบรรดาศักดิ์ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่เคยได้รับอยู่แต่ก่อนแล้ว และคงให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่1 รักษาพระองค์ตามเดิมด้วย ท่านจึงได้ใช้ยศและบรรดาศักดิ์ว่า พลโท พระยาเทพหัสดิน ราชองครักษ์พิเศษ จ.ป.ร. เช่นดังเดิม
รับตำแหน่งรัฐมนตรี
พฤศจิกายน 2490 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมาชิกสภาป้องกันพระราขชอาณาจักร และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2491 โดยลำดับ
พระยาเทพหัสดิน ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พระยาเทพหัสดิน และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 และได้ดำรงตำแหน่งถึง 2 สมัย ส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการคมนาคมให้ก้าวหน้าไปด้วยดี จนเป็นเหตุให้มีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง คือสะพาน "เทพหัสดิน" เป็นอนุสรณ์อยู่จนถึงบัดนี้ สะพานแห่งนี้ ช่วยน่นระยะการขนส่งสินค้าสดทางทะเล และผลไม้สดจากจังหวัดภาคตะวันออกให้ได้เข้าสู่กรุงเทพฯโดยรวดเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน ไม่ต้องรอเรือแฟรี่ข้ามท่านซึ่งกินเวลานานและมีไม่กี่เที่ยว แม้ในตอนแรกรัฐสภาจะไม่ยอมอนุมัติให้ผ่านงบประมาณสร้างสะพานแห่งนี้ก็ตาม ท่านจึงได้ยื่นหนังสือขอลาออก ทางสภาจึงได้พิจารณาใหม่และอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างในที่สุด
ถึงแก่อนิจกรรม
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2493 ท่านได้ป่วยหนัก ซึ่งในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ เป็น พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์สวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนีย์พิริยะพาหะ พระบรมราชโอกาสนี้ได้รับพระราชทานไปอ่านท่ามกลางมวลหมู่ทหารอาสาที่อนุสาวรีย์ทหารอาสา และผู้รับสนองพระบรมราชโองการอัญเชิญไปยังผู้นอนเจ็บอยู่กับบ้านอีกครั้ง
ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2494 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานโกศประกอบลองไม้สิบสอง กับในเวลาออกเมรุยังโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเฟื่องพุ่มยอด เป็นเกียรติยศเป็นพิเศษอย่างสูงอีกด้วย ซ้ำยังทรงพระกรุณาเทิดเกียนคิ แต่หนหลังด้วยการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวง ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นงานหลวง ทั้งในหมายกำหนดการยังบังคับให้ข้าราชการไว้ทุกข์ครึ่งยศ อันเป็นเกียรติยศแด่ท่านผู้วายชนม์และครอบครัวอย่างสูงหาที่สุดมิได้
ท่านได้รักษาดำรงความเป็นคนดี และผู้ดี จนวาระสุดท้านแห่งชีวิต และคำขวัญสุดท้ายที่ท่านได้ทิ้งไว้ให้บุุตรหลาน เมื่อวันเกิดครั้งสุดท้ายของท่านคือ "จงรักเกียรติยิ่งชีวิต" และ "การรู้จักอโหสิกรรม เป็นยอดของความเป็นผู้ดี"
เริ่มมีรถแท็กซี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 รถแท็กซี่ (Taxi) เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย โดย พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อช่วยทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มีอาชีพหลังจากปลดจากราชการ โดยนำเอารถเก๋งออสติน (Austin) ขนาดเล็กออกวิ่งรับจ้าง โดยติดป้ายรับจ้างไว้ข้างหน้า-หลังของตัวรถ คิดค่าโดยสารเป็นไมล์ โดยตกไมล์ละ 15 สตางค์ ซึ่งนับว่าแพงมากเมื่อเทียบราคากับค่าโดยสารในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า "รถไมล์" เพราะเก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง ในสมัยบุกเบิกใหม่ ๆ นั้นมีรถแท็กซี่อยู่เพียง 14 คัน แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิกกิจการในที่สุด เนื่องจากค่าโดยสารแพง ผู้ใช้บริการยังไม่คุ้นเคยจึงไม่ยอมนั่ง ประกอบกับเมืองกรุงเทพฯ ยังมีขนาดเล็ก และมีรถรับจ้างอื่น ๆ อยู่มากและราคาถูกกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2490 ก็มีผู้นำรถยนต์นั่งมาให้บริการในลักษณะรถแท็กซี่อีกครั้ง รถที่นำมาบริการในช่วงนั้นเป็นรถยี่ห้อ เรโนลต์ (Renault) สมัยนั้นจึงเรียกแท็กซี่ว่า "เรโนลต์" ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่ารถจักรยานสามล้อถีบ ซึ่งมีชุกชุมในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้อาชีพขับรถแท็กซี่เป็นที่ฮือฮา มีผู้นำรถเก๋งไปทำเป็นรถแท็กซี่กันมากขึ้น จนระบาดไปต่างจังหวัด จนต้องมีการควบคุมกำหนดจำนวนรถมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันแท็กซี่ในเมืองไทยเป็นรถปรับอากาศ ติดมิเตอร์คิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางและเวลา โดยเริ่มต้นที่ 35 บาท พร้อมทั้งมีมีวิทยุสื่อสาร บางคันอาจมีทีวีให้ดูในระหว่างการเดินทางด้วย
ปี 2476 ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนราษฎรจังไวัดพระนครคนแรก ร่วมกับนายไต๋ ปาณิกบุตร และ ขุนสมาหารหิตะคดี ดดยท่านผู้แทนเหล่านี้ ถูกแบกตัวจากท้องสนามหลวงโดยประชาชน มาจนถึงหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า
นอกจากนี้ท่านยังได้ตั้งโรงรีดนมโคอย่างถูกอนามัยเป็นคนแรก
พิชโย
ดิสิตสมิต เล่ม2 ฉบับ 21 ( 3 พค. 2462)
นาม นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิื์ ( ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา )
หัวหน้ากิงทูตทหารไปในงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป
อธิบาย "พิชโย " มาจากราชทินนาม "พิไชยชาญฤทธิ์" ซึ่งท่านผู้นี้ได้ชื่อว่า เป็นอาจารย์วิชายุทธศาสตร์และยุทธวิธี ผู้มีชื่อเสียงยิ่งของโรงเรียนเสนาฑิการทหารบก
ภาพนี้เป็นภาพล้อฝีพระหัตถ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ทรงวาดลงใน ดุสิตสมิต เพื่อแสดงความยินดีในคราวที่ นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ หัวหน้ากองทูตทหารหรือแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสยาม ในงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป นำนายและพลทหารในกองบินทหารบก เินทางกลับถึงกรุงสยามโดยสวัสดิภาพ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2462
ในภาพ นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ แต่งเครื่องแบบปกติ สวมหมวกแก๊ปสีกากีแกมเขียว ผ้าพันหมวกและกระบังหน้าสีกากีแกมเขียว มีตราปทุมอุณาโลมติดที่หน้าหมวก เสื้อแบบราชการสีกากีแกมเขียว ติดดุมทองเกลี้ยง 5 ดุม กับมีกระเป๋าใบปก 4 กระเป๋า ติดอินทรธนูไหมทอง 1 จักร กลางอินทรธนูข้างขวาประดับอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลางอินทรธนูเบื้องซ้ายประดับเครื่องหมายบก คอเสื้อประดับเข็มเครื่องหมายพลรบประจำการรูปกระมหามกุฎสีกากีแกมเขียวแบบขี่ม้า รองสูง(บู๊ต)หนังเหลือง มือทั้งสองข้างกุมโกร่งกระบี่ฝักเงินพร้อมถุงมือ
เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวนี้ กองทัพฝรั่งเศสจ่ายให้นายและพลทหารในกองทหารอาสาของไทย ที่ไปในงานพระราชสงครามทวีปยุโรปแทนเครื่องแบบสีกากี ซึ่งกระทรวงกลาโหมจ่ายให้เมื่อครั้งออกเดินทางไปจากกรุงเทพฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสีเครื่องแบบทหารในกองทัพสัมพันธมิตรซึ่งเข้าร่วมในมหาสงครามภาคพื้นยุโรป เมื่อสงครามโลกครั้งที่1 สงบลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุุณาโปรดเกล้าฯให้นายทหารในกองทัพบกสยามเปลี่ยนเครื่องแบบจากสีกากีมาเป็นสีกากีแกมเขียว ตั้งแต่่ปี พ.ศ. 2462 และนายทหารบกไทยคงใช้เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
** ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก **
พิชโย
ดิสิตสมิต เล่ม2 ฉบับ 21 ( 3 พค. 2462)
นาม นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิื์ ( ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา )
หัวหน้ากิงทูตทหารไปในงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป
อธิบาย "พิชโย " มาจากราชทินนาม "พิไชยชาญฤทธิ์" ซึ่งท่านผู้นี้ได้ชื่อว่า เป็นอาจารย์วิชายุทธศาสตร์และยุทธวิธี ผู้มีชื่อเสียงยิ่งของโรงเรียนเสนาฑิการทหารบก
ภาพนี้เป็นภาพล้อฝีพระหัตถ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ทรงวาดลงใน ดุสิตสมิต เพื่อแสดงความยินดีในคราวที่ นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ หัวหน้ากองทูตทหารหรือแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสยาม ในงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป นำนายและพลทหารในกองบินทหารบก เินทางกลับถึงกรุงสยามโดยสวัสดิภาพ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2462
ในภาพ นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ แต่งเครื่องแบบปกติ สวมหมวกแก๊ปสีกากีแกมเขียว ผ้าพันหมวกและกระบังหน้าสีกากีแกมเขียว มีตราปทุมอุณาโลมติดที่หน้าหมวก เสื้อแบบราชการสีกากีแกมเขียว ติดดุมทองเกลี้ยง 5 ดุม กับมีกระเป๋าใบปก 4 กระเป๋า ติดอินทรธนูไหมทอง 1 จักร กลางอินทรธนูข้างขวาประดับอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลางอินทรธนูเบื้องซ้ายประดับเครื่องหมายบก คอเสื้อประดับเข็มเครื่องหมายพลรบประจำการรูปกระมหามกุฎสีกากีแกมเขียวแบบขี่ม้า รองสูง(บู๊ต)หนังเหลือง มือทั้งสองข้างกุมโกร่งกระบี่ฝักเงินพร้อมถุงมือ
เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวนี้ กองทัพฝรั่งเศสจ่ายให้นายและพลทหารในกองทหารอาสาของไทย ที่ไปในงานพระราชสงครามทวีปยุโรปแทนเครื่องแบบสีกากี ซึ่งกระทรวงกลาโหมจ่ายให้เมื่อครั้งออกเดินทางไปจากกรุงเทพฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสีเครื่องแบบทหารในกองทัพสัมพันธมิตรซึ่งเข้าร่วมในมหาสงครามภาคพื้นยุโรป เมื่อสงครามโลกครั้งที่1 สงบลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุุณาโปรดเกล้าฯให้นายทหารในกองทัพบกสยามเปลี่ยนเครื่องแบบจากสีกากีมาเป็นสีกากีแกมเขียว ตั้งแต่่ปี พ.ศ. 2462 และนายทหารบกไทยคงใช้เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
** ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก **
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......