Jodhpur is the second largest city in the state of Rajasthan, India. It is called the Gateway to Thar, as it is literally on the edge of the Thar desert. It is also called the Sun City as the sun shines (very bright and hot!) almost every day of the year.
Jodhpur is an historic city and the origin dates to the year 1459 AD when it was founded by Rao Jodha, the Rajput chieftan of the Rathores. The Rathore kingdom was also known as the Marwar and was the largest in Rajputana.
The city was built as the new capital of the state of Marwar to replace the ancient capital Mandore, the ruins of which can be seen near what is now the Mandore Gardens. The people of Jodhpur and surrounding areas are hence also commonly called as Marwaris.
Jodhpur is also known as the Blue City, an apt name as most houses in the old city are shades of blue. This is particularly noticeable on the north side of the town, known as Brahmpuri for the many Brahmins that live there.
The forts and palaces, temples and havelis, culture and tradition, spices and fabrics, colour and texture, a booming handicrafts industry, all add up to make this historic city worth a visit.
from Wikitravel
“จ๊อดปูร์” (Jodhpur) หรือเมือง โยธะปุระ นครนักรบ ที่ทั่วทั้งเมืองเป็นสีฟ้าราวกับน้ำทะเล เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในแคว้นราชาสถาน ถูกตั้งขึ้นเป็นราชธานี โดย Rao Jodha แห่งราชวงศ์ Rathor
จ๊อดห์ปูร์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงนิวเดลี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 580 กิโลเมตร สร้างโดย มหาราชา ราโอ จอดา (RAO JODHA) แห่งราชวงศ์ ราเธอร์ (RATHORE) ผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวราชปุท (RAJAPUT) นักรบผู้กล้าแห่งทะเลทราย สร้างในปี พ.ศ. 2002 ยุคเดียวกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะที่ตั้งของ จ๊อดห์ปูร์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองด่านหน้าของทะเลทรายธาร์ ผืนทะเลทรายที่สำคัญอันแห่งหนึ่งของโลก ทำให้ที่นี้เป็นเมืองที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีผู้คนล้มตายไปมาก เพราะทนต่อสภาพความแห้งแล้งไม่ไหว จ๊อดห์ปูร์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มารวาร” (MARWAR) อันหมายถึงดินแดนแห่งความตาย
“มารวาร” (MARWAR) ดินแดนแห่งความตาย ฟังดูน่าขนพองสยองเกล้า ในสมัยโบราณคงไม่เกินความจริง ท่ามกลางอุณหภูมิเฉลี่ยเกิน 40 องศาขึ้นไปของการมาเยือนในครั้งนี้ ปัจจุบันมีความเจริญ มีระบบสาธารณูปโภค ของกิน ของใช้ น้ำดื่ม เพียบพร้อมขนาดนี้ ยังร้อนทารุณ ในสมัยโบราณคงยิ่งกว่านี้หลายเท่านัก
ธรรมชาติโหดร้ายซะขนาดนี้ แต่...ก็ไม่พ้นความพยายามของมนุษย์ ที่สามารถคืบคลานรุกรานไปได้ทุที่
วันนี้เป็นวันที่ 3 ของทริป ติดตามตอนแรก เมืองจัยซัลเมอร(Jaisalmer) ได้ที่นี่
http://www.pict4all.com/vboard/showt...28Jaisalmer%29
เราออกเดินทางจากเมืองจัยซัลเมอร์แต่เช้า รถแท๊กซี่มารับพวกเราที่โรงแรมตอน 7.30 น. ผู้คนที่่นี่ปรับตัวเคยชินกับอากาศร้อนอบอ้าวของเมือ งได้เป็นอย่างดี คงประหลาดใจกับคณะเราที่ขึ้นรถปั๊บก็สั่งให้เปิดแอร์ ปุ๊ป พวกเราก็ประหลาดใจไม่รู้ว่าจะประหยัดกันไปถึงไหน ต้องบอกให้เปิดแอร์ทุกครั้งทุกคัน
พักรถครึ่งทางเพื่อดื่มชาร้อนๆ หรือจัย กันนิด มาครั้งก่อนเราดื่มจัยไม่ได้เลย ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นเครื่องเทศที่ผสมอยู่ในจัย แต่ครั้งนี้กลับดื่มได้อย่างไม่รู้สึกอะไรนัก แต่ก็ต้องคอยบอกไม่เอา มาซาร่า ด้วย จัย นับเป็นเครื่องดื่มที่ดื่มได้อย่างไม่ต้องกลัวท้องเส ีย เพราะร้อนระดับลวกลิ้นให้พองได้ในทันทีที่จิบ ต้องค่อยๆจิบ
ในภาพข้างล่าง ขวดน้ำสีส้มคือน้ำมะม่วง น้ำยอดนิยมที่รสชาดอร่อย หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายน้ำ และขวดสีขาวคือน้ำมะนาวโซดาที่เปรี้ยวหวานชื่นใจ ตลอดทริปได้เจ้า 2 ขวดนี่แหละที่ดื่มดับกระหายและประทังความหิวในบางมื้ อที่ติดพันการถ่ายภาพ
เราออกเดินทางต่อ มาถึงเมืองจ๊อดปูร์ประมาณเกือบเที่ยง คนขับรถบอกง่ายๆว่าโรงแรมที่พวกเราจะให้ไปส่งอยู่ในเ ขตเมืองเก่าที่ทางแคบ ห้ามรถใหญ่เช่นแท๊กซี่เข้าไป จะส่งพวกเราตรงหอนาฬิกา และให้เราเรียนตุ๊กตุ๊กให้ไปส่งต่อ
ความเป็นกะเหรี่ยงที่คงฉายแววเซ่อซ่า ให้เห็น ก็ยอมรับฟังและลงจากรถแต่โดยดี เรียกแท๊กซี่ให้ไปส่งที่โรงแรมที่เราตั้งใจไป (แต่ยังไม่ได้จอง)
ซึ่งพอผ่านเข้าเขตเมืองเก่าก็เห็นรถใหญ่วิ่งกันเป็นป กติ ใหญ่ขนาดรถบรรทุกเล็กก็มี เสียรู้แขกอีกแล้ววววว
แต่จะว่าไป ตรอกซอกซอยก็ค่อนข้างแคบ ต้องคนที่นี่ชำนาญเส้นทางจริงๆจึงจะหลบหลีกกันได้ ก็น่าเห็นใจเหมือนกัน โรงแรมที่เราเลือกพักชื่อ Krishna Prakash Heritage Haveli ( www.kpheritage.com)
ดูตรงท้ายชื่อมีคำว่า ฮาวีลี่ น่าจะดัดแปลงจากบ้านเศรษฐีอินเดียแน่ เพราะโรงแรมนี้เป็นอาคาร 3-4 ชั้น เล่นระดับที่สำคัญบันใดทางขึ้นเยอะแยะ จะเดินไปตรงไหนของอาคารจะเจอบันไดทางขึ้น ด้านบนสุดเป็นห้องอาหารซึ่งจะเห็นวิวป้อมเมห์รานการห ์ (Mehrangarh Fort )
ห้องที่เราพักอยู่ชั้นล่าง ด้านหน้ามีสวนและสระว่ายน้ำ ชอบมากมายที่โรงแรมนี้ตามฝาผนังจะมีภาพวาดการ์ตูนและ ลายสวยๆ เต็มไปหมด
ภาพล่าง เป็นภาพหน้าห้องพัก เก่าแบบHeritage จริงๆ
เก็บข้าวของแล้ว เราตกลงเลือกทานข้าวเช้าควบกลางวันที่ห้องอาหารของโร งแรม แม้ราคาจะสูงไปนิดแต่ก็ควบ 2 มื้อเลยขี้เกียจเดินหาร้าน
เราเลือกสั่งข้าวหมกเนื้อแกะ ไข่เจียว แกะกะหรี่ และมีปลากระป๋อง กับ น้ำพริกกุ้งเสียบจากไทยเป็นอาหารเสริม ตอนเข้าไปในห้องอาหารไม่มีคน เราเลยทะลุทะลวงเข้าไปถึงก้นครัว ได้ภาพครัวแสงสวยๆเป็นของแถม(ด้วย iPhone) ก่อนโดนกุ๊กไล่ออกจากครัว 555
อิ่มหนำแล้ว ก็เตรียมตัวออกสำรวจเมืองจ๊อดปูร์กัน วันนี้มีเวลาครึ่งวัน คุณเกาวางแผนให้เดินรอบๆโรงแรมซึ่งเป็นเมืองเก่า บ้านเรือนตามตรอกซอกซอยรอบๆโรงแรม จากนั้นจะไปที่ อนุสรณ์สถาน Jaswant Thada พรุ่งนี้ค่อยขึ้นป้อมMehrangarh Fort
เตรียมท๊อฟฟี่ อมยิ้ม ที่ซื้อมาจากทริปมาเลย์ โกยใส่กระเป๋า ไม่พอ น้ายักษ์ยังช่วยโกยใส่กระเป๋าน้ายักษ์เผื่อไม่พอแจก ซึ่งก็เป็นไปตามคาดไม่พอแจกจริงๆ ต้องขอจากน้ายักษ์มาเสริมด่วน
แจกเสร็จ เด็กๆก็ขอให้ถ่ายภาพ พ่อแม่ก็สนุกขอถ่ายด้วย เราเลยตอบสนองกระหน่ำถ่ายให้หนำใจ
คนที่นี่ ถ้ามาอย่างมิตรขอเค้าถ่ายภาพ ส่วนใหญ่ไม่ว่าอะไรยินดีให้เก็บภาพตามใจชอบ
สรุปว่าความเป็นเมืองสีฟ้า จะมีภาพให้เก็บได้แค่รอบๆโรงแรมที่เราพักนั่นเอง เลยออกไปบ้านเรือนเป็นหินทราย หรือ ปูนธรรมดานี่เอง
และความเป็นเมืองสีฟ้า เพราะว่าที่ตั้งของเมืองตั้งอยู่ในแถบทะเลทรายอันร้อ นระอุ สีฟ้าสามารถกันรังสีจากแสงแดดได้ดีกว่าสีอื่น อีกเหตุผลเพราะ สีฟ้าเป็นสีของวรรณะพราหมณ์ ซึ่งเมืองนี้มีชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์อาศัยอยู่มาก แต่ถ้าดูดีๆ บ้านบางหลังก็ไม่ได้ทาสีฟ้าทั้งหลัง บางบ้านจะทาสีฟ้าเฉพาะด้านที่หันไปทางป้อม Mehrangarh Fort เท่านั้น แสดงว่าการทาสีฟ้าไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ อาจเป็นกฎระเบียบบังคับ นานๆไปก็ละเลยกันไป จนเกือบทำให้ความเป็นเมืองสีฟ้าเหลือเฉพาะเพียงชื่อห รือไม่ในอนาคต
เดินเก็บภาพไปเรื่อยๆ จนเดินมาถึงปากประตูทางเข้าเมืองเก่า หรือ ตรงหอนาฬิกานั่นเอง
จากตรงนี้เราเรียกตุ๊กตุ๊กให้ไปส่งที่ อนุสรณ์สถาน Jaswant Thada
อนุสรณ์สถาน Jaswant Thada ตั้งอยู่ห่างจากป้อมเมหุ์รานการห์ ไปประมาณ 1 กิโลเมตร อนุสรณ์นี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1899 เพื่ออุทิศให้กับมหาราชาจัสวันต์ ซิงห์ที่ 2 (Maharaja Jaswant Singh II) หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว 4 ปี โดยเป็นมหาราชาที่ได้การนับถือจากประชาชนมากมาย เป็นทั้งผู้ริเริ่มโครงการชลประทาน จัสวันต์ธาดาสร้างจากหินอ่อน จากแหล่งเดียวกับที่นำไปสร้างทัชมาฮา
หลังจากเสียเวลาเติมลมยาง ก็ออกเดินทาง
แต่เรามาช้าไปสถานที่ราชการทั้งหลาย สี่โมงเย็นเค้าก็ปิดทำการแล้ว
ไม่ให้เสียเที่ยวเราก็เก็บภาพด้านนอกมัดจำไว้ก่อน รถตุ๊กตุ๊กก็ให้รอรับเรากลับไปด้วย
วิวมุมสูง ก็พอใช้ได้ ที่เห็นลิบๆคือ วัง “อูเมด พาวัน” ( Umaid Bhawan) ก่อสร้างขึ้นตามโครงการจ้างงานชาวบ้านที่ยากจน เพื่อให้ชาวบ้านมีงานทำในช่วงที่ร้อนจัด สร้างโดย มหาราชาอุเมด ซิงห์ (MAHARAJA UMAID SINGH) มีห้องทั้งหมด 347 ห้อง ใช้เวลาสร้าง 15 ปี โดยคนงาน 300 คน ตัวพระราชวังได้รับการออกแบบจากสองสถาปนิกชาวอังกฤษ ตกแต่งแบบ อินโด-โคโลเนียล สร้างด้วยหินทรายสีเนื้อ อยู่บนเนินเขาสูง ปัจจุบันก็เป็นที่พำนักของมหาราชแห่งจ๊อดห์ปูร์และกั นบางส่วนไว้สำหรับเป็น โรงแรมระดับห้าดาว
เมื่อเข้าไม่ได้ พรุ่งนี้เช้าค่อยมาใหม่ ตอนนี้ปรับแผนไปเดินตลาดตรงหอนาฬิกา แล้วค่อยหาที่ถ่ายภาพป้อมกับแสงไฟกลางคืนอีกที
เป็นช่วงเวลาที่ชุลมุนวุ่นวายแห่งวัน และพวกเราก็ไปช่วยเพิ่มความวุ่นวายให้กับที่นี่ด้วยก ารเกะกะยืนถ่ายภาพ
อากาศร้อนอบอ้าว ใช่แต่พวกเราที่ดื่มน้ำแบบขวดต่อขวด ชาวบ้านเค้าก็ต้องการน้ำเหมือนกัน รถขายน้ำอ้อยหีบกันสดๆมีคนรอซื้อแน่นขนัด ก็น่าสนใจอยากลองดูบ้าง แต่ก็ใจไม่ถึงพอกลัวจู๊ดๆด้วยธาตุไม่แข็งพอ ที่น่าสนใจคือน้ำดื่มเพื่อประชาชนแต่โดยเอกชน ที่ตั้งรถน้ำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาดื่มน้ำจากจอก จะเก็บเงินหรือปล่าวมองไม่ถนัด หรือจะบริจาคให้แล้วแต่สมัครใจก็ไม่ทราบ แต่เราจะพบบริการแบบนี้ตามชุมชนรายทางตลอด
สมควรแก่เวลา เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที่สำหรับวันนี้ เราก็เดินกลับโรงแรมพักผ่อน อาบน้ำ ดูทีวีรอแสงเย็นเพื่อถ่ายป้อมชิวชิวจากบนดาดฟ้าโรงแร มตอนฟ้าบลูกัน
มัวแต่เมาท์ ดูภาพหลังกล้อง และดูหนังกันเพลิน กว่าจะรู้ตัว ก็ฟ้าบลูและเกือบดำแล้ว คว้ากล้องวิ่งขึ้นดาดฟ้า ได้มาแค่นี้เอง
เมื่อวาน ตรงปากประตูเมืองที่เราเรียกรถตุ๊กตุ๊ก มีร้านขายแซนด์วิช เจ้าของร้านพรีเซ็นต์ตัวเองน่าดูว่าร้านนี้ได้ลงใน Lonly Planet ด้วย มีสมุดเยี่ยมจากลูกค้าต่างชาติเป็นเล่มให้อ่านคำนิยม ด้วย ตอนนี้เราอิ่มมื้อกลางวันแล้วเลยบอกว่าจะมาทานกันวัน พรุ่งนี้
เช้านี้ก็เลยมาตามนัด แต่ก่อนอื่นก็เก็บภาพรายทางมาก่อน เช่นเคยท๊อฟฟี่และอมยิ้ม หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว เด็กๆเริ่มรู้แกว พอได้ก็ไปตามเพื่อนฝูงพี่น้องมาขอกันเป็นพรวน มีเวียนเทียนเหมือนกันแต่พอจับได้ก็ยิ้มอายๆ ไม่มีตื้อ
ไปเจอโรงเรียนเด็กเล็ก เด็กโตเชื้อเชิญให้เข้าไป แจกอมยิ้มเด็กๆ คุณครูที่กำลังสอนก็ไม่ว่าอะไร โรงเรียนเค้าก็เหมือนกับพ่อแม่สอนลูกในบ้าน ดูไม่ค่อยเหมือนโรงเรียนเท่าไหร่นัก
เก็บเล็กเก็บน้อยกับแสงยามเช้า และ คนงานก่อสร้างถนน
ทานแซนด์วิชที่อร่อยร้อนๆสมราคาคุย เดินตลาดทบทวนอีกนิด
จุดหมายแรก Jaswant Thada ที่พลาดไปเมื่อวาน
สุสานกลางทะเลทราย ชาสวานต์ ทาดา Jaswant Thada แห่งเมืองโยธาปุระ Jodhpur รัฐ Rajasthan
เป็นอนุสรณ์สถาน และฌาปนสถานของราชตระกูล เป็นที่สงบร่มรื่น สิ่งที่โดดเด่นของสถานที่นี้คือ อาคารหินอ่อนสลักเสลาบนแท่นหินอ่อนลายฉลุ ปราณีตบรรจงตามรสนิยมของชาวภารตะ ยอดโดมเหลี่ยมและทรงหัวหอมสไตล์โมกุล ตั้งเด่นสง่างามสะท้อนแสงแดดแวววับจับตา
อนุสรณ์แห่งนี้สร้างอุทิศให้มหาราชาสวานต์ ซิงห์ ที่ 2 Maharaja Jaswant Singh II อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งอยู่กลางท้องทุ่งเวิ้งว้าง แต่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และภายในยังมีสวนสวยๆเพื่อให้นั่งพักผ่อน ตั้งอยู่ที่เนินเขาห่างจากป้อม เมห์รังการห์ไปทางเหนือประมาณ 1 กม.
ด้านในของ Jaswant Thada
ด้านนอกอีกนิด
จาก Jaswant Thada เราสามารถมองเห็นภาพมุมกว้างของป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort ) ได้อย่างชัดเจน
มาอินเดียคราวนี้ เรากลายเป็นขวัญใจของบรรดา ป้าๆน้าๆ ถูกขอถ่ายรูปคู่ ขอจับมือตลอด หรือเราจะเป็นตัวแทนของสัญญลักษณ์ เสรีภาพของผู้หญิงที่สามารถเดินทาง แต่งตัว หรือ ทำอะไรได้อย่างเสรี ไม่ต้องถูกขังไว้ในจารีตประเพณีโบราณ เราสังเกตเห็นแววตาของคนที่ปลื้ม หรือ ทึ่ง ในสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นแต่เป็นไม่ได้ในแววตาเหล่านั ้น นับว่าโชคดีเหลือเกินที่เกิดในเมืองไทย
ป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort ) ป้อมนี้เป็นป้อมโบราณที่มีความยิ่งใหญ่และเป็นหนึ่งใ นสี่ของพระราชวังที่ ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ป้อมปราการที่ยาวเหยียดข้ามเขาถึง 125 ลูก ภายในมีพระราชวังที่สวยงามและใหญ่ที่สุด และเป็นจุดชมวิวเมืองสีฟ้าที่ดีที่สุด ไม่มีป้อมปราการใดจะงามสง่าเท่าเมห์รานการห์ฟอร์ทแห่ งนี้ มหาปราการหินถูกสร้างบนเนินเขาสูง 122 เมตร ใน ค.ศ. 1459 เมื่อฤาษีท่านหนึ่งบอกว่ามหาราชาจ๊อดธะ พระองค์ควรสร้างเมืองขึ้นที่นี่ จ๊อดปูร์เป็นศูนย์กลางอาณาจักรใหญ่แต่ครั้งโบราณ ป้อมจึงถูกเสริมเติมแต่งให้มีขนาดใหญ่มหึมา ภายในตกแต่งด้วยแก้วหลากสี แบ่งห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ได้แก่ ตำหนักMoti Mahal , Sheesh Mahal , Phool Mahal ป้อมเมห์รานการห์เป็นป้อมโบราณที่ยังอยู่ในสภาพที่สม บูรร์ ภายในยังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงา ม
สำหรับคนที่ไม่อยากเดินขึ้นที่สูง ที่นี่มีบริการลิฟต์รับส่ง ไปยังทางเข้าพิพิธภัณฑ์ พวกเราสมัครใจเดินเก็บบรรยากาศดีกว่า ( ที่จริงตอนนั้นลืมไปว่า ที่นี่มีลิฟต์ ถ้าจำได้ อาจงอแง รวบรัดตัดทางหนีไปขึ้นลิฟต์ก็ได้ 555)
แวะฟัง วณิพก ผัวเมืย คู่นี้ เล่นเพลงและร้องเพลง เสียงซอและเสียงร้องก้องดังกังวานเหมือนมีเครื่องขยายเสียง เพราะดี
ป้อมนี้มีประตูหลายชั้น แต่ละประตูก็มีชื่อ มีประวัติที่น่าติดตาม
เช่นประตูนี้ชื่อว่า ประตูโลหะโปล (Loha Pol) เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำของเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1843 ที่เหล่าสนมของมหาราชามาน สิงห์ (Maharaja Man Singh)กว่า 60 คนที่ กระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี เรียกว่าประเพณีสาติ (Sati) ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมที่มีเกียรติของกลุ่มราชปุต แต่ประเพณีนี้ถูกสั่งห้ามเด็ดขาดในช่วงที่อินเดียอยู ่ภายใต้การปกครองของ อังกฤษ
กำลังถ่ายภาพ มักถูกสะกิดขอให้ถ่ายภาพให้ประจำ เอ้า...จัดไป
เราเข้ามาในเขตพระราชวัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ในตอนนี้
บันใดนี้ เป็นมุมมหาชน สำหรับภาพเส้นสายสวยๆของบันใด
เราเดินชมหลายห้อง แต่ละห้องหรือแต่ละตำหนัก ก็จะมีชื่อประวัติห้อง และ ของจัดแสดง แค่เดินชมไม่ได้ถ่ายภาพไว้ เพราะแสงน้อยและไม่มีจุดน่าสนใจให้ถ่าย แต่พอมาถึงห้องนี้ ต้องถ่ายเก็บซะหน่อย ห้องนี้น่าจะเรียกว่า
พระตำหนักโมติมาฮาล (Moti Mahal) หรือ พระตำหนักไข่มุก จุดเด่นอยู่ที่การนำเปลือกหอยมุกมาบด ก่อนนำไปผสมปูนแล้วฉาบลงบนผนังห้อง ทำให้เวลาค่ำคืนจุดเทียนผนังห้องจะดูแวววาว ส่วนเพดานใช้กระจกเป็นสีๆ จุดประสงค์ของห้องนี้เพื่อใช้ในการหารือราชการกับข้า ราชบริพารระดับสูง
ส่วนห้องนี้เป็นห้องพระบรรทม ชื่อว่า
ตากัตวิลลา (Takhat Villa) เป็นห้องนอนหรูหราอลังการ ของมหาราชาตากัต ซิงห์ (Maharaja Takhat Singh) ที่ห้องมีความแปลกคือเพดานมีการประดับประดาด้วยลูกบอ ลคล้ายลูกบอลคริสต์มาส
การเดินจากตำหนักนึง ไปอีกตำหนักนึง จะมีทางเดินเชื่อมถึงกัน ทางเดินบางช่วงจะมีผนังที่ฉลุเป็นลาย เพื่อบังสายตาแต่ไม่บังลม
เดินไปเดินมา ในที่สุดก็ขึ้นมาเกือบชั้นสูงสุดของป้อม เก็บภาพมุมสูงซะหน่อย
ถ่ายรูปที่อินเดีย มีความสุขอยู่อย่าง ไม่ว่าเราจะถ่ายอะไรทั้งสถานที่ ทั้งผู้คนที่แวดล้อมล้วนกลมกลืนกัน บางครั้งเราไม่ต้องรอให้คนหมด แต่สามารถเอาคนเข้ามาเป็นส่วนประกอบในภาพได้เลย
เพียงแต่การวัดแสงเพื่อถ่ายภาพคนที่นี่ มีความยากมากมาย เพราะสีผิวที่ดำเกือบสนิท กับแสงแวดล้อมที่จัดจ้าน ยากจริงๆ
ในที่สุดก็จบการชมพระราชวังบนป้อมสูงที่ชื่อ Mehrangarh Fort และคงเป็นการสิ้นสุดการเที่ยวชมเมืองJodhpur ด้วย พรุ่งนี้เราจะออกเดินทางไปเมืองจัยปูร์ (Jaipur) กันแต่เช้า
ติดตาม จัยปูร์ ได้ในตอนต่อไปค่ะ
http://somersetmghm.blogspot.com/2013/06/jaipur.html
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......