Sunday, 24 July 2011

มหาภารตะทริป ตอน2 ขชุราโหต้นตำรับกามสูตร

Khajuraho[1] is a small town located in the Bundelkhand region (Chhatarpur District) of Madhya Pradesh and is famous for groups of Hindu and Jain temples. These temples are a UNESCO World Heritage Site for their beautiful and erotic rock carvings.
Khajuraho has the Vindhya range of mountains as its beautiful backdrop. This makes Khajuraho a more fascinating destination to visit.




หมู่บ้าน ขชุราโห (Khajuraho) ตั้งอยู่ในอำเภอ Chhatarpur  ตอนเหนือของรัฐ มัธยะประเทศ ตอนกลางของประเทศอินเดีย ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก Unesco แล้ว 

ขชุราโหมีดีอะไร ถึงได้เป็นมรดกโลก

เพราะในช่วงปี คศ.950-1050  หมู่บ้านเล็กๆนี้ได้พัฒนางานสถาปัตยกรรมของตนขึ้นจนบรรลุจุดสูงสุด  มีความงามเฉิดฉายเปล่งประกายเจิดจรัส Khajuraho มีกลุ่มของวัดฮินดู และวัดเชนในสมัยกลาง แต่เดิมราชวงศ์จันทละ ได้สร้างเทวาลัยขึ้นที่นี่ 85 หลัง (ปัจจุบันเหลือเพียง 22 หลัง ) เทวาลัยเหล่านี้ออกแบบมาให้มองจากระดับพื้นดินไล่สูงขึนไปจนถึงระดับของทิพยวิมานบนเขาไกรลาศ  มีการสลักเสลาลวดลายตกแต่งอย่างสวยงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของช่างฝีมือและกษัตริย์ผู้รังสรรค์ผลงานนี้ขึ้นมา

แต่ความโด่งดังของขชุราโห กลับมาจากรูปแกะสลักซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศแนวกามาวิจตรอันงดงาม นอกเหนือจากรูปแกะสลักอื่นๆที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน และ ชาวราชสำนักในยุคสมัยนั้น  รูปแกะสลักกามสูตรเหล่านี้จะอยู่ภายนอกอย่างเดียว ส่วนข้างในโบสถ์ก็จะเป็นภาพแกะสลักเทพเจ้าต่างๆ  ฉะนั้นทุกวันนี้เมือง Khajuraho ถือได้ว่าเป็นเมืองแบบอย่างแห่งศิลปะของอินเดีย และมีชื่อเสียงมากเนื่องมาจากการแสดงให้เห็นเด่นชัดในเรื่องเพศของคนอินเดียในยุคนั้น

วัดทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มตะวันตก ตะวันออก และ ใต้  วัดทั้งหมดสร้างขึ้นด้วยหินทราย ใช้หินทั้งหมดวางไว้ด้วยกัน มีตัวบากและเดือยเป็นตัวเชื่อมต่อ ตัวเสาและบัวลาดบัวลายต่างๆสร้างโดยใช้หินขนาดใหญ่ประมาณ 20 ตัน
------






การเดินทาง จากเดลลี นั่งรถไฟมายังเมือง Jhansi หลังจากนั้นต้องเช่ารถ หรือมากับรถประจำทาง เพราะไม่มีรถไฟมาถึง ส่วนคนที่มีเงิน สามารถนั่งเครื่องบินจากเดลลีมาลงที่เมือง Khajuraho ได้เลย

การเข้าชมขชุราโห  ต้องเสียเงินค่าบัตรผ่านประตู  แต่พวกเราคนไทยสามารถซื้อบัตรได้ในราคาเท่ากับคนอินเดียคือ 10 รูปี (ถ้าจำไม่ผิด)  เพราะมีสนธิสัญญากันระหว่างอินเดียกับกลุ่มประเทศคู่สัญญา ที่ประชาชนสามารถเข้าชมโบราณสถานต่างๆซึ่งกันและกันในราคาเท่ากับพลเมืองประเทศนั้นๆ (แต่ต้องแสดงพาสปอร์ตด้วยนะ)

การถ่ายภาพเทวลัยต่างๆที่นี่ ควรรีบมาแต่เช้า หรือไม่ก็รอจนเย็น เพราะจะได้แสงเฉียงที่ส่องต้องตัวเทวลัยให้เหลี่ยมมุมที่สวยงาม ส่วนช่วงกลางวันก็เหมาะสำหรับการถ่ายภาพภายในเทวลัยต่างๆ เพราะจะใช้แสงธรรมชาติล้วนๆ  พวกเราไปจังหวะไม่ค่อยดี เพราะฟ้าขาวเมฆมากเหมือนจะมีฝน จะพอถ่ายภายนอกได้แค่ช่วงก่อนพระอาทิตย์จะตกดินที่พอจะได้ฟ้าเข้มแป๊ปเดียวเท่านั้น
-----







การก่อสร้างเทวลัยของขชุราโห ก็สร้างแบบวัดฮินดู คืออาคารยกพื้นสูงชั้นแรกจะเป็นลานหิน และมีตัวเทวลัยยกสูงขึ้นไปอีกชั้นนึง  ผนังด้านนอกของเทวลัยจะเป็นงานแกะสลักเกือบทุกตารางนิ้วเลยทีเดียว  เป็นภาพแกะสลักที่ผสมปนเปไปหมด ระหว่างเทพเจ้า กษัตริย์ ขุนนาง การรบพุ่ง สัตว์ ยานพานะต่างๆ  และ วิถีชีวิตของพลเมือง ฉะนั้นการดูภาพแกะสลักให้รู้เรื่อง คงต้องอาศัยความรู้มากพอสมควรจึงจะดูภาพแกะสลักต่างๆได้รู้เรื่อง

สำหรับพวกเรา บางครั้งก็โชคดีได้อาศัยเจ้าหน้าที่ที่ประจำเทวลัย ช่วยอธิบายให้ฟังบ้าง ก็พอถูๆไถๆกันไป  กระดิกหูบ้างไม่กระดิกหูบ้าง  คงไม่โดนตัดคะแนนสอบแน่ๆ
-----








ที่ชอบมากๆ ก็ลวดลายที่ประดับบนฝาผนังนี่แหละ  เพราะลายพวกนี้คือต้นแบบลายไทยนี่เอง  เป็นลวดลายที่อ่อนช้อยสวยงามมากๆ  นั่งมองทั้งวันก็ไม่เบื่อ
-----














แต่จนถึงตอนนี้ คงมีหลายคนเบื่อแล้วแน่ๆ คงถามในใจ ไม่ถึงกามสูตรซะทีนะ

ใจเย็นๆ  ของดีต้องเก็บไว้ในที่ลับ ม่ายช่าย  ต้องเก็บไว้ทีหลังซิ

เอ้า.... เปิดก็ด้าย   ถึอเป็นศิลปะและการศึกษานะคะ อย่าว่ากันเลย

มีคนถามว่า ถ่ายมาทุกท่าหรือปล่าว (สงสัยอยากได้) ก็ตอบไปว่า ไม่ทุกท่าหรอกนะ แต่ก็หลายท่าอยู่ อิอิ

พยายามหาข้อมูลว่า ทำไมถึงต้องมีภาพแกะสลักกามสูตรด้วย  ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจน ใครพอรู้ช่วยมาขยายความนิดนึง จะขอบคุณมากค่ะ  เท่าที่หาพบก็คงจากความเชื่อแบบลัทธิตันตระ ลัทธิตันตระ เดิมเป็นของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าเทพเจ้าต้องมีศักติหรือชายา เพื่อเสริมอำนาจบารมี เช่น พระศิวะต้องมีศักติชื่อ อุมา หรือกาลี เป็นต้น 

หลักของนิกายตันตระ ต้องปฏิบัติ 5 ม.
เมรัย(ดื่มเหล้า)
เมถุน(คงไม่ต้องบอก)
มัตสยา(ทานปลา)
มังสา(ทานเนื้อ)
มุทรา(ร่ายรำด้วยท่าทางที่ชวนเกิดอารมณ์)

ดังนั้น ภาพแกะสลักต่างๆจึงมีภาพเกี่ยวกับการเสพเมถุนปะปนไปด้วยมั๊ง เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้า
----












พอแค่นี้นะคะ

เข้าไปในเทวลัยกันดีกว่า  ทางเข้าเทวลัยมักทำเป็นช่องทางเดินแคบๆ
----- 





เข้าไปภายในส่วนใหญ่มักเป็นห้องโถงสีเหลียม เคยอ่านเจอเหมือนเป็นการจำลองจักรวาลมาไว้(ไม่ยืนยัน)  มักประกอบด้วยโถงกลางที่มีเสาค้ำยัน สุดทางโถงเป็นห้องบูชาเทพเจ้า เช่น พระศิวะ พระวิษณุ  และผนังรอบห้องบูชาจะมีทางเดินแคบให้เดินเพื่อถวายการเคารพต่อเทพเจ้าได้ เช่นกัน ในเทวลัยแต่ละหลังจะมีภาพแกะสลักเหล่าทวยเทพเต็มไปหมดทุกตารางนิ้ว
----










ภายในเทวลัย....
---











เพิ่มเติมด้านนอกอีกหน่อย....
----







ลัษณะของวัดฮินดูมักทำยอดแหลม ปลายยอดมีหม้อน้ำไว้ที่ยอดปรางค์  เหมือนเคยอ่านพบว่าหมายถึง นิพานสูงสุดของศาสนายังไงนี่แหละ
----








แล้วพวกเราก็อยู่กันจนเย็นย่ำสนธยาใกล้มาเยือน  เวลาเข้าก็เข้าคนแรก เวลากลับก็จนเจ้าหน้าที่มาไล่แหละ ถึงยอมถอยออกมา  เต็มอิ่มจริงๆ ทั้งที่ทั้งวันได้ทานแค่แซนวิชมื้อเช้าเท่านั้น  กลางวันก็แค่น้ำอัดลมลูบท้อง เพราะถ้าออกมาข้างนอกก็ต้องซื้อตั๋วเข้าไปใหม่ ยอมอดเพื่องานนี้จริงๆ
----







จบตอนขชุราโหแต่เพียงแค่นี้ค่ะ   ติดตามตอน หมู่ถ้าอจันตา  ความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาในอินเดีย ในตอนต่อไปค่ะ
http://somersetmghm.blogspot.com/2011/07/blog-post.html


No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......