Saturday 23 July 2011

มหาภารตะทริป ตอน3 หมู่ถ้าอจันตา ความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา

มีคำกล่าวไว้ว่า
" ที่อินเดีย....หากจะดูความยิ่งใหญ่ของฮินดูต้องไปที่คาชูระโห
   หากจะดูความยิ่งใหญ่ของมุสลิมต้องทัชมาฮาล...
  หากจะดูความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาต้อง..ถ้ำอชันตา
"

อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ถ้ำนั้น ห่างจากเมืองออรังคบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 104 กม. หมู่ถ้ำอจันตา เป็นถ้ำที่มีการขุดเจาะภูเขาเข้าไป เรียงกันถึง 30 ถ้ำ เพื่อใช้เป็นห้องโถงสำหรับสวดมนต์ และประกอบศาสนกิจ รวมถึงเป็นที่พำนักพระสงฆ์ จะเรียกว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งก็ว่าได้ ถ้ำอชันตา  ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปีพุทธศักราช ๓๕๐-๔๐๐ มาสิ้นสุดประมาณพ.ศ.๑๒๐๐

ภายในถ้ำแห่งนี้มีจิตรกรรมภาพเขียนผนังที่งดงามหาใดเปรียบ ปัจจุบันได้รับจดขึ้นเป็นทะเบียนมรดกโลกแล้ว ทั้งหมดมี ๓๐ ถ้ำ แต่ละถ้ำจะถูกเจาะแกะสลักเป็นพระพุทธรูปที่งดงามน่าทึ่งในศรัทธาของชาวพุทธผู้สร้าง ที่บรรจงวิจิตรสร้างสรรค์ ด้วยวัสดุอุปกรณ์เพียงฆ้อม สิ่ว และกำลังศรัทธาได้บรรจง เจาะภูเขาสร้างเป็นวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนา นับเป็นความอัศจรรย์ใจทันทีที่ได้มาเห็น...
---





ถ้ำอจันตา เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้
----




การเจาะถ้ำอชันตา  เนื่องจากแนวหน้าผา ของหมู่ถ้ำอชันตานั้น เป็นหน้าผาตัดตรง โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น การเจาะภูเขาให้เป็นถ้ำ จึงใช้วิธีเจาะเข้าไป  ในภูเขาหิน ทางด้านหน้าโดยตรง ได้เลย  โดย ถ้ำที่เจาะเข้าไปมีลักษณะ เป็นคูหาสี่เหลี่ยม มีพื้นห้อง และเพดานเรียบ, ส่วนฝาผนังห้อง มักมีการแกะสลัก หรือมี การฉาบปูนเรียบ เพื่อการวาดเป็นภาพ ที่เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา ทางด้านหน้าถ้ำ มักมีประตูทางเข้า ทางเดียว หรือสองทาง และบางคูหา ก็มีหน้าต่างด้วย.




ภายในคูหาถ้ำ ส่วนมากมีการแกะสลัก  เช่น เสาหินที่ค้ำยันไว้กับคาน บางคูหา มีซุ้มประตู  มีพระพุทธรูป  ที่เป็นแบบ พระประธาน  มีสถูปเจดีย์ และบางคูหา ก็แกะสลักหลังคา เป็นโดมโค้ง แบบสาญจี เป็นต้น. อย่างไรก็ดี  ถ้ำหรือวัดเหล่านี้ ส่วนมาก  มักใช้เป็นที่จำพรรษา ของพระภิกษุสงฆ์ด้วย  จึงมีการสลักหิน เป็นเตียงนอนไว้ด้วย.

มาดูภาพความพยายามของมนุษย์ และศรัทธาที่แก่กล้าขนาดไหน

ถ้ำนี้ เป็นถ้ำที่ยังขุดเจาะไม่เสร็จ.....
 -------



ถ้ำที่มีความสวยงามและเลื่องชื่อในด้านจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้น ก็คือ ถ้ำที่ 1 ซึ่งภายในมีภาพวาดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระปัทมปาณีถือดอกบัว เอียงพระเศียรแสดงสีหน้าอ่อนโยนและเมตตา 
------





ในขณะที่ถ้ำที่ 2 มีความงดงามไม่แพ้กัน ต่างกันเพียงจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำนี้เป็นเรื่องการประสูติของพระพุทธองค์และพระสุบินของพระนางสิริมหามายา

การวาดสีลงบนหิน หลังจากเจาะถ้ำและสลักให้แผ่นหินทั้งถ้ำเรียบได้ฉากเสมอกัน ไม่มีรอยนูน ความขุระ ก็จะเริ่มงานจิตรกรรม ภายในถำจะไม่มีตรงไหนที่เว้นไว้ จะลงสี เป็นเรื่องราวพุทธประวัติทั้งหมด ทุกๆส่วน ช่างจะเริ่มเอาขี้วัวขี้ควายผสมยาไม้และเส้นฟางสับให้ละเอียดผสมกัน และยาทับลงบนผนังหิน หรือเสาหินภายในถ้ำก่อนวาดสี ความหนานั้นเป็นนิ้ว หลังจากแห้งแล้วจึงค่อยลงสี แบบนี้จะทำให้สีอยู่คงทนกว่าวาดลงไปบนแผ่นหินโดยไม่อะไรเชื่อระหว่างเม็ดสีกับเนื้อหิน
----

ถ้ำอื่นๆ ก็มีความงดงามในด้านของภาพแกะสลัก....
-----





ส่วนวิหารในถ้ำที่ 19 เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมหินแกะสลักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความโดดเด่นที่เพดานด้านบนเป็นทรงเกือกม้า และมีรูปปั้นเทพารักษ์ยืนตรงขอบหน้าต่าง โดยทั้งหมดเป็นฝีมือของพระสงฆ์นิกายมหายานที่สื่อให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่และพระ ราชวังอันหรูหราของพระพุทธเจ้าก่อนออกผนวชเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต
----





พระพุทธรูป ในแบบของเถรวาท  มักนิยมนั่งขัดสมาธิ พับเท้าเก็บไว้ แบบนั่งกับพื้น ซึ่งมีหลายท่า หลายแบบ เช่น ปางปฐมเทศนา  หรือ ปางสมาธิ ปางปราบมาร เป็นต้น. และถ้าเป็นพระประธาน ก็อาจมีพระสาวก ยืนขนาบข้าง อยู่ทั้งสองข้าง เป็นพระสารีบุตร หรือพระโมคคัลลานะ.
---






พระพุทธรูป ในแบบอื่นๆ ก็งดงามไม่แพ้กัน
----





วิชาการมาตั้งเยอะ  หวังว่าคงไม่เบื่อกันก่อนนะคะ  เพราะการชมถ้ำอจันตาให้ได้อรรถรส ควรต้องรู้ที่มาที่ไปบ้างค่ะ

และต้องขอขอบคุณ เจ้าของบทความทางวิชาการที่เผยแพร่ทางเน็ต  และได้นำมาใช้อ้างอิง มา ณ ที่นี้ค่ะ

เป็นไงค่ะ..... ถ้ำอจันตา  สมกับเป็นความยิ่งใหญ่ของ พระพุทธศาสนา หรือไม่






ถ่ายภาพที่นี่ ค่อนข้างยาก เพราะแสงในถ้ำน้อยมาก ถึงจะมีการจัดไฟไว้บ้างก็ค่อนข้างมืด  และยังห้ามใช้ขาตั้งกล้อง  ฉะนั้นต้องใช้วิธีดึง ISO ให้สูงที่สุดคือ 3200  ระยะที่ค่อนข้างแคบ ต้องใช้เลนส์ฟิชอายมาช่วยให้มุมภาพกว้างขึ้น  ถึงเสาจะดูโค้งงอไปบ้าง แต่ก็ให้มุมมองที่แปลกตาออกไปนะคะ





จบตอน อจันตา แต่เพียงแค่นี้ค่ะ

ติดตามตอนต่อไป  หมู่ถ้ำอโลร่า  การชิงดีชิงเด่นกันระหว่างศาสนา
 http://somersetmghm.blogspot.com/2011/07/blog-post_23.html


No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......