Changu Narayan
The ancient temple of Changu Narayana is located on a high hilltop that is also known as Changu or Dolagiri. The temple is surrounded by forest with champak tree and a small village, known as Changu Village. The temple is located in Changu VDC of Bhaktapur District, Nepal. This hill is about 8 miles east of Kathmandu and a few miles north of Bhaktapur. The Manahara River flows beside the hill. This shrine is dedicated to Lord Visnu and held in especial reverence by the Hindu people. This temple is considered as the oldest temple in Nepal. It exhibits the development of Newari religious architecture.
The temple is full of magnificent art works in metal and wood. In fact, it is one of the finest examples of Nepalese architecture. The first epigraphic evidence of Nepalese history found in the temple premises during the reign of the Licchavi King Mandeva dating back to 464 A.D. shows that Changu had already been established as a sacred site in the 3rd century A.D. The present structure was probably constructed in the 17th century, through older elements have been incorporated during the restorations. The pagoda style temple has several masterpieces of 5th and 12th century Nepalese art. According to legends Changu Narayan temple existed as early as 325 A.D. in the time of Licchavi King Hari Datta Verma and it is one of Nepal's richest structures historically as well as artistically. In the grounds there is a stone pillar inscription of great importance recording the military exploits of King Man Deva who reigned from 496 A.D. to 524 A.D. The first epigraphic evidence of Nepalese history found in the temple premises during the reign of the Licchavi King Mandeva dating back to 464 A.D. shows that Changu had already been established as a sacred site in the 3rd century A.D. It is the earliest inscription known in Nepal. The temple was restored during the lifetime of Ganga Rani, consort of Siva Simha Malla who reigned from 1585 to 1614. There are records of the temple burning in the year of 822 Nepal Samvat (1702 A.D.), after which reconstruction was carried out. More inscriptions in gilt-copper plates were added by Bhaskara Malla in 1708 A.D.
Nagarkot
Nagarkot is a village and Village Development Committee located 32 km east of Kathmandu, Nepal in Bhaktapur District in the Bagmati Zone. At the time of the 1991 Nepal census it had a population of 3,504 and had 655 houses in it.[1] At an elevation of 2,195 meters, it is considered one of the most scenic spots in Bhaktapur District. It is renowned for its sunrise view of the Himalaya including Mount Everest as well as other snow-capped peaks of the Himalayan range of eastern Nepal. Nagarkot also offers a panoramic view of the Kathmandu Valley.[2]Nagarkot is an international tourist destination with spectacular views of the whole Langtang range, sunrise on the mountains and sunset views.
From Wikipedia, the free encyclopedia
บันทึกการเดินทางกาฐมาณฑุ ตอน5 (Changu Narayan & Nagarkot)
ตอนที่5 ตอนนี้จะเป็นการเดินทางออกจากปักตาปูร์ เพื่อขึ้นเขานากาก๊อต ยอดเขาที่สูงที่สุดในหุบเขากาฐมาณฑุ เราหวังว่าจะได้เห็นวิวทิวเขาหิมาลัย หลังจากพลาดเพราะหมอกจัดเมื่อ 4-5 ปีก่อน
ก่อนจะขึ้นเขา แวะที่วัดชางกู นารายัน ( Changu Narayan ) วัดที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระนารายณ์ วัดนี้อยู่ห่างจากปักตาปูร์ทางทิศเหนือ 8 กม. ตัววัดอยู่บนยอดเขา เชิงเขามีหมู่บ้านChangu หรือ Dolagiri เป็นหมู่บ้านเล็กที่เงียบสงบ คราวก่อนที่มา ที่นี่ดูจะพลุกพล่านกว่านี้ มีการขายสินค้าของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวอย่างเ ป็นล่ำเป็นสัน จะเดินตื้อให้ซื้อสินค้าจนน่ารำคาญ แต่ครั้งนี้สินค้า ของที่ระลึกน้อยลง ไม่มีการเดินตื้อ หยุดดูก็ไม่ว่าอะไร ถ้าจะซื้อค่อยคุยราคากัน
คราวก่อนที่ได้มา มีเวลาจำกัด แต่จำได้ว่ามาตอนเช้าๆ แสงกำลังสวย คราวนี้จึงรีบออกจากปักตาปูร์แต่เช้า
และไม่ผิดหวัง แค่ผ่านทางเข้าแสงและเงาที่พาดสินค้าและบ้านเรือนทำใ ห้ต้องหยุดเก็บภาพเป็นระยะ
วันนี้ฟ้าแจ่ม สีฟ้าสดใส ตัดกับตัวอาคารหลังคา 2 ชั้น สีแดง ไม่รีรอที่จะเล่นกรอบภาพกับซุ้มประตูทางเข้า
มารวมตัวปักหลักรอถ่ายภาพตัวอาคารกับคนเนปาลที่มาไหว้บูชาพระนารายณ์
ไล่เก็บภาพคนจนเบื่อ .....
เช่นเดียวกับวัดฮินดูทั่วๆไป จะไม่อนุญาติให้คนต่างศาสนาถ่ายด้านใน ยังดีที่ยอมให้ถ่ายภาพด้านนอกได้ วัดนี้ตามประวัติแล้วเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในกาฐมาณฑุ เป็นวัดที่คนเนปาลให้การนับถือมาก ตัววัดได้รับการก่อสร้างและแกะสลักอย่างงดงาม รวมทั้งรูปแกะสลักที่บูชาอยู่ในบริเวณวัดล้วนแต่งดงา ม จนทางการเนปาลนำภาพนารายณ์ทรงครุฑไปใส่ไว้ในธนบัตรเงินรูปีของเนปาล เช่นเดียวกับที่ประเทศเรานำภาพโบสถ์ของวัดภูมินทร์ที่น่าน มาใส่ไว้ในธนบัตรของเราอยู่นานหลายปี
ภาพแกะสลักรอบๆวัด
เก็บภาพกันอยู่พักใหญ่ จนใกล้เที่ยงจึงเดินกลับ
แวะเก็บภาพวิวสักนิด
และเก็บภาพชีวิตของชาวบ้านริมทาง ก่อนแวะทานอาหารกลางวันที่ร้านข้างทาง
หลังอาหารเที่ยง เราออกเดินทางกันต่อเพื่อขึ้นเขานากาก๊อต ระหว่างทางหยุดจอดรถถ่ายวิวข้างทาง
คนเนปาลโรแมนติกมาก มีจอดรถจักรยานยนต์นั่งชมวิวกลางแดดเปรี้ยงๆได้อย่าง สบายอารมณ์มาก ไม่รู้จักร้อนผิวกันบ้างเลย ทั้งๆที่แดดแรงมากและร้อนมาก แต่เค้านั่งคุยกันเหมือนอากาศเย็นสบาย
คืนนี้พักที่โรงแรมหรู ชื่อ Hotel View Point ความหรูแค่เปลือกด้านนอกเท่านั้น ในห้องพักดูธรรมดาเหมือนโรงแรม 3 ดาวบ้านเรา
นั่งพักเหนื่อยโหลดภาพพักใหญ่ รอจนแสงใกล้หมดจึงตะกายขึ้นไปบนดาดฟ้าโรงแรมเพื่อดูว ิว แต่ทัศนวิสัยวันนี้เหมือนเมื่อ 4-5 ปีก่อนเป๊ะ หมอกจัดมองอะไรไม่ค่อยเห็น มัวซัวไปหมด
ได้แต่หวังว่า วันรุ่งขึ้นหมอกอาจจะคลายตัวเบาบางให้เห็นหิมาลัยบ้าง
มื้อเย็นกับเมนูอาหารแบบจัดเต็ม แกงกะหรี่ไข่อร่อยมาก ส่วนคนอื่นยังมุ่งมั่นในสเต็คไม่เสื่อมคลาย
หลังมื้ออาหารอันยาวนาน กลับมาห้องหัวถึงหมอนก็หลับจนถึงเช้า
ตอนเช้า หลังจากโงหัวขึ้นดูที่หน้าต่าง เห็นหมอกหนา ก็ปลงแล้วว่าแห้วอีกครั้ง นอนต่ออีกนิดดีกว่า
มื้อเช้าวันนี้ ขอเอาเลนส์ Zuiko 45mm ติดกล้อง พานา GX1 มาขอลองถ่ายอาหารหน่อย
วิวที่ดีที่สุดสำหรับวันนี้
หลังทานข้าว เดินวนรอบโรงแรมเก็บภาพดอกไม้ไปเรื่อยเปื่อย....
มาหยุดพยายามถ่ายเจ้าเต่าทองตัวนี้ ด้วยเทเล พักใหญ่
เหยี่ยวเยอะมาก พยายามงัดเอา 600 มม. มาถ่าย ไม่สำเร็จ จับเหยี่ยวไม่ทัน
หลังจากเก็บของเช็คเอ้าท์ เพื่อออกเดินทางลงจากนากาก๊อต
คืนนี้จะกลับมาพักที่ ทาเมล ในเมืองกาฐมาณฑุ
ระหว่างทางเราแวะเก็บภาพวิวนาขั้นบันไดที่หมายตาเอาไว้ตอนขาขึ้น
ช่วงนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยว คราวนี้ลองงัดเอา Zuiko 75-300มม. ที่จะกลายเป็น 150-600 มม. มาถ่ายระยะไกล ซูมสุด 600 มม. ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ภาพก็พอรับได้นะ
คุณลุง คุณป้า สองคนนี่ก็เก็บด้วย เทเล 75-300 มม. เหมือนกัน
ระหว่างกำลังถ่ายวิวด้วย Zuiko 75-300 มม. เจอเจ้าหนูน้อยกลุ่มนี้ ขอขนม
ขอท๊อฟฟี่ และเต๊ะท่าให้ถ่ายรูป เปลี่ยนเลนส์ไม่ทัน
ต้องวิ่งข้ามถนนไปตั้งหลักอีกฝากของถนนเพื่อ ถ่ายPortrait ระยะ 150 มม. หนูน้อยเสื้อแดงน่ารักมาก โพสท่าให้ถ่ายสนุกเป็นธรรมชาติมาก จังหวะและระยเลนส์พอดี สวยใสคมชัดแบบไม่ต้องแต่งภาพเพิ่มเลยเซ็ทนี้
หลังแวะพักทานน้ำกัน แอบเก็บภาพสาวเจ้าของร้าน เราก็ออกเดินทางสู่ ทาเมล กาฐมาณฑุ ต่อไป
ติดตามตอน สวยมภูนาท ได้ในตอนต่อไป......
ติดตามตอนที่เหลือได้ที่
และไม่ผิดหวัง แค่ผ่านทางเข้าแสงและเงาที่พาดสินค้าและบ้านเรือนทำใ ห้ต้องหยุดเก็บภาพเป็นระยะ
วันนี้ฟ้าแจ่ม สีฟ้าสดใส ตัดกับตัวอาคารหลังคา 2 ชั้น สีแดง ไม่รีรอที่จะเล่นกรอบภาพกับซุ้มประตูทางเข้า
มารวมตัวปักหลักรอถ่ายภาพตัวอาคารกับคนเนปาลที่มาไหว้บูชาพระนารายณ์
ไล่เก็บภาพคนจนเบื่อ .....
เช่นเดียวกับวัดฮินดูทั่วๆไป จะไม่อนุญาติให้คนต่างศาสนาถ่ายด้านใน ยังดีที่ยอมให้ถ่ายภาพด้านนอกได้ วัดนี้ตามประวัติแล้วเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในกาฐมาณฑุ เป็นวัดที่คนเนปาลให้การนับถือมาก ตัววัดได้รับการก่อสร้างและแกะสลักอย่างงดงาม รวมทั้งรูปแกะสลักที่บูชาอยู่ในบริเวณวัดล้วนแต่งดงา ม จนทางการเนปาลนำภาพนารายณ์ทรงครุฑไปใส่ไว้ในธนบัตรเงินรูปีของเนปาล เช่นเดียวกับที่ประเทศเรานำภาพโบสถ์ของวัดภูมินทร์ที่น่าน มาใส่ไว้ในธนบัตรของเราอยู่นานหลายปี
ภาพแกะสลักรอบๆวัด
เก็บภาพกันอยู่พักใหญ่ จนใกล้เที่ยงจึงเดินกลับ
แวะเก็บภาพวิวสักนิด
และเก็บภาพชีวิตของชาวบ้านริมทาง ก่อนแวะทานอาหารกลางวันที่ร้านข้างทาง
หลังอาหารเที่ยง เราออกเดินทางกันต่อเพื่อขึ้นเขานากาก๊อต ระหว่างทางหยุดจอดรถถ่ายวิวข้างทาง
คนเนปาลโรแมนติกมาก มีจอดรถจักรยานยนต์นั่งชมวิวกลางแดดเปรี้ยงๆได้อย่าง สบายอารมณ์มาก ไม่รู้จักร้อนผิวกันบ้างเลย ทั้งๆที่แดดแรงมากและร้อนมาก แต่เค้านั่งคุยกันเหมือนอากาศเย็นสบาย
นั่งพักเหนื่อยโหลดภาพพักใหญ่ รอจนแสงใกล้หมดจึงตะกายขึ้นไปบนดาดฟ้าโรงแรมเพื่อดูว ิว แต่ทัศนวิสัยวันนี้เหมือนเมื่อ 4-5 ปีก่อนเป๊ะ หมอกจัดมองอะไรไม่ค่อยเห็น มัวซัวไปหมด
มื้อเย็นกับเมนูอาหารแบบจัดเต็ม แกงกะหรี่ไข่อร่อยมาก ส่วนคนอื่นยังมุ่งมั่นในสเต็คไม่เสื่อมคลาย
ตอนเช้า หลังจากโงหัวขึ้นดูที่หน้าต่าง เห็นหมอกหนา ก็ปลงแล้วว่าแห้วอีกครั้ง นอนต่ออีกนิดดีกว่า
มื้อเช้าวันนี้ ขอเอาเลนส์ Zuiko 45mm ติดกล้อง พานา GX1 มาขอลองถ่ายอาหารหน่อย
วิวที่ดีที่สุดสำหรับวันนี้
ช่วงนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยว คราวนี้ลองงัดเอา Zuiko 75-300มม. ที่จะกลายเป็น 150-600 มม. มาถ่ายระยะไกล ซูมสุด 600 มม. ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ภาพก็พอรับได้นะ
หลังแวะพักทานน้ำกัน แอบเก็บภาพสาวเจ้าของร้าน เราก็ออกเดินทางสู่ ทาเมล กาฐมาณฑุ ต่อไป
ติดตามตอน สวยมภูนาท ได้ในตอนต่อไป......
- ปศุปตินาถ - Pashupatinath
- โพธนาถ - Boudanath
- สางขุ,พัชรโยกินี -Sankhu & Bajrayogini Temple
- เมืองโบราณปัตรตาปูร์ - Bhaktapur
- ชางกูรนารายันและนากาก๊อต - Changu Narayan & Nagarkot
- สเวยัมภูนาท - sweyamphunath
- ปาตันหรือลลิตปูร์ - Patan (Lalipur)
- กิรติปูร์ - Kirtipur , Pharping
- หมู่บ้านมรดกโลกบุงกะมาตีและโกกานา - Khokana&Bungkamati
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......