Thursday 10 January 2013

บันทึกการเดินทางกาฐมาณฑุ ตอน7 (ปาทัน Patan-Lalipur)


Patan (Sanskrit: पाटन Pātan, Nepal Bhasa: यल Yala), officially Lalitpur

Sub-Metropolitan City, is one of the major cities of Nepal located in the south-central part of Kathmandu Valley. Patan is also known as Manigal. It is best known for its rich cultural heritage, particularly its tradition of arts and crafts. It is called city of festival and feast, fine ancient art, making of metallic and stone carving statue.

Lalitpur is believed to have been founded in the third century B.C. by the Kirat dynasty and later expanded by Licchavis in the sixth century. It was further expanded by the Mallas during the medieval period.
There are many legends about its name. The most popular one is the legend of the God Rato Machhindranath, who was brought to the valley from Kamaru Kamachhya, located in Assam, India, by a group of three people representing the three kingdoms centered in the Kathmandu Valley.
One of them was called Lalit, a farmer who carried God Rato Machhindranath to the valley all the way from Assam, India. The purpose of bringing the God Rato Machhindranath to the valley was to overcome the worst drought there. There was a strong belief that the God Rato Machhindranath would bring rain in the valley. It was due to Lalit's effort that the God Rato Machhindranath was settled in Lalitpur. Many believe that the name of the town is kept after his name Lalit and pur meaning township.
Lalitpur said to have been founded by King Veer Deva in 299 A.D., but there is unanimity among scholars that Patan was a well established and developed town since ancient times. Several historical records including many other legends indicate that Patan is the oldest of all the cities of Kathmandu Valley. According to a very old Kirat chronicle, Patan was founded by Kirat rulers long before the Licchavi rulers came into the political scene in Kathmandu Valley. According to that chronicle, the earliest known capital of Kirat rulers was Thankot. Kathmandu, the present capital was most possibly removed from Thankot to Patan after the Kirati King Yalamber came into power sometimes around second century A.D.
One of the most used and typical Newar names of Patan is Yala. It is said that King Yalamber or Yellung Hang named this city after himself, and ever since this ancient city was known as Yala.
In 1768, Lalitpur was annexed to the Gorkhali kingdom by Prithvi Narayan Shah in the Battle of Lalitpur.















บันทึกการเดินทางกาฐมาณฑุ ตอน7 (ปาทัน Patan-Lalipur)


ตอนนี้เป็นตอนที่ 7 แล้ว เรายังเดินทางท่องในกาฐมาณฑุเป็นวันที่ 5

เช้านี้ตื่นมาอาบน้ำแต่งตัว แล้วเดินขึ้นไปทานอาหารเช้าที่รวมอยู่ในค่าห้องแล้ว บนชั้นบนสุดเป็นระเบียงยื่นที่มองเห็นตรอกทาเมล ที่สำคัญเห็นหน้าต่างห้องที่เราพักบนชั้น4 ด้วย จึงได้เห็นว่าหน้าต่างห้องน้ำที่เป็นกระจกฝ้าถ้ากลาง คืนด้านนอกมืดจะมองเห็นเงาคนในห้องน้ำได้ปรุโปร่งขนา ดไหน 5555 คิดแล้วเสียววาบ เมื่อคืนไม่รู้ว่าเราเปิดการแสดงโชว์ให้ใครชมละครเงา ขนาดไหน

อาหารเช้าวันนี้แขกคงน้อย จึงให้เราเลือกสั่งได้เองว่าอยากทานอะไร ฉะนั้นก็สูตรเดิมคือ ขนมปังปิ้ง ออมเล็ต และ มูสลีโยเกิร์ต ซึ่งมูสลีโยเกิร์ตนี่ดีสำหรับการถ่ายจริงๆ ตลอดทริปเราทานโยเกิร์ตกับมูสลีทุกวัน ถ่ายทุกวันเช้าเย็น เพราะโยเกิร์ตช่วยระบบขับถ่าย มูสลีมีเส้นใยไฟเบอร์เยอะ ดีว่าตลอดทริปอยู่แต่ในเมืองตามร้านอาหารมีห้องน้ำสะ อาดน่าใช้ ถ้าเป็นนอกเมืองคงเดือดร้อนแน่ๆ







เช้านี้เราจะไปเมืองปาตัน(Patan) หรืออีกชื่อคือเมือง ลลิตปูร์(Lalipur) เมืองนี้เป็นหนึ่งในสามเมืองที่มีความเจริญทางด้านศิ ลปะและสถาปัตยกรรมสูงสุด นอกเหนือจากเมืองปักตาปูร์ที่ไปมาแล้ว และที่ดูรบาร์สแคว์ในกาฐมาณฑุที่จะไปพรุ่งนี้

เมืองปาตันหรือลลิตปูร์นี้อยู่ทางใต้ของเมืองกาฐมาณฑ ุ เมืองนี้เป็นศุนย์กลางของงานวิจิตรศิลป์และเป็นเมือง พุทธศาสนาที่เก่าแก่ ซึ่งลลิตปูร์ก็มีความหมายว่า "เมืองอันงดงาม"

การวางผังเมืองก็วิสัยทัศน์ดีเยี่ยม จากจตุรัสดูรบาร์สแควร์ของปาตันจะมีถนนสายหลักแยกเป็ นรัศมี 4 สาย ซึ่งถือว่าเป็นเลิศในด้านการวางผังเมือง อาคารต่างๆและศาสนสถานมากมายได้รับการขึ้นทะเบียนเป็ นมรดกโลกจากยูเนสโกแล้ว








 ที่จตุรัสดูรบาร์สแควร์นี้จะมี ศาสนสถานที่สำคัญที่ควรเยี่ยชมได้แก่

- วัดทเลจูาวณี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ปาตัน ซึ่งครั้งนี้ไม่มีเวลาเข้าไปชมเนื่องจากเวลาไม่พอ แต่ครั้งก่อนได้เคยเข้าไปชมแล้ว ภายในจะมีของเก่าแก่หายาก ตัวอาคารเป็นอาคารไม้แกะสลักสวยงาม แต่มีการบูรณะซ่อมแซมโดยการดามเหล็กโครงสร้างค้ำยันอ าคารไว้อย่างแนบเนียน ไม่ทำลายความงามของตัวอาคารเลย

- นอกจากในบริเวณลานจตุรัสยังมี กฤษณามันดีร์ , วัดหริสังกะ , วัดปิศวนาถมันดีร์ , วัดภีมเสนมันดีร์





 เก็บบรรยากาศกันอีกนิด ก่อนออกเดินไปวัดทอง ซึ่งอยู่ทางเหนือของจตุรัสดูรบาร์สแควร์ ไม่ไกลนัก






 ครั้งนี้ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งผิดแผกไ ป

ในครั้งก่อนที่มาเมื่อ 4-5 ปัก่อน จะพบว่าผู้ชายเนปาลจะคล้ายกับผู้ชายอินเดีย ที่วันๆเอาแต่นั่งชุมนุมกันอยู่ตามศาลาชุมชนปล่อยให้ ผู้หญิงทำหน้าที่ทำนาเกี่ยวข้าว เลี้ยงลูก หาบน้ำ ตามลำพัง

ในครั้งนี้ จะไม่ค่อยเห็นผู้ชายหนุ่มๆนั่งอ้อยอิ่งอย่างนั้น แต่จะเห็นผู้ชายร่วมทำไร่ทำนากับผู้หญิง ช่วยแบกของหนัก และทำงานอื่นๆร่วมกันกับผู้หญิง คงเพราะภาวะเศรษฐกิจบีบคั้นให้ทุกคนต้องช่วยกันจะงอม ืองอเท้าเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ คงจะเหลือแต่ผู้สูงอายุที่พ้นภาระดังกล่าวแล้วเท่านั ้นจึงจะนั่งชุมนุมสังสรรค์กัน



 อีกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป คือการเจริญเติบโตของเมือง ที่ครั้งก่อนจะมีชุมชนที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานประกอบ อาชีพเกษตรกรรม จะมีการตากข้าวเปลือกเต็มลาน ครอบครัวเมื่อว่างงานจะออกมานั่งคุยกันหน้าบ้าน เด็กๆก็จะเล่นอยู่หน้าบ้าน

ปัจจุบัน การอยู่อาศัยของชาวเมืองน้อยลง อาชีพเกษตรกรรมก็น้อยลงแทบไม่เห็น จะกลายเป็นร้านค้าขายของที่ระลึก หรือ ทำโรงแรม เกสเฮาส์ การอาศัยอยู่ของคนในพื้นที่จึงน้อยลงเหลือเฉพาะคนที่ ประกอบอาชีพกับนักท่องเที่ยวที่จะอยู่ในเมือง ที่เหลือคงย้ายไปอยู่รอบนอกที่ห่างจุดท่องเที่ยวออกไป







 เดินชมเมืองมาจนถึงวัดทอง หรือ Kwabahal (บาฮาล เป็นคำเรียก อารามวัดแบบหลังคาสองชั้นแบบเนวาร์ สร้างล้อมรอบลานกว้าง ) ประตูทางเข้ามีสิงห์คู่เฝ้าอยู่ ดูก็รู้ทันทีว่าตัวไหนตัวเมีย หรือ ตัวผู้

มุขด้านหน้าตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงด้วยทองแดง







 เดินพ้นประตูทางเข้าเข้ามาจะเจอตัวอารามที่ไม่ใหญ่โต มากนัก แต่ได้รับการตกแต่งด้วยงานแกะสลักวิจิตรบรรจงมากมาย เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาก ใครมาปาตัน ก็ต้องมาแวะที่นี่





 งานโลหะและทองสะท้อนฝีมืองานช่างชั้นสูง





 รูปหล่อสัมฤทธิ์ ลิง และ ช้าง




 วิหารตรงกลางลาน ก็ตกแต่งอย่างอลังการวิจิตรบรรจงมาก







 งานหล่อโลหะและแกะสลักรายรอบวิหาร






 ด้านใน......







 ซุ้มประตูที่มีงานสัมฤทธิ์พุทธประวัติที่งดงามเกินคำ บรรยาย




 ออกจากวัดทอง Kwabahal เราเดินต่อไปทางเหนือเพื่อไปยังวัดกุมเบชวาร์(kumbes hwal Mandir ) ซึ่งเป็นวัดที่มีหลังคาห้าชั้น และมีเพียง 3 แห่งเท่านั้นในกาฐมาณฑุ อีก 2 แห่งคือวัดนยาโปลาในปักตาปูร์ และ วัดปัญจมุคีหนุมานในพระราชวังหนุมานโดกาที่กาฐมาณฑุ

ระยะทางไกลพอสมควร ระหว่างทางบ้านเรือนชาวบ้านเมื่อก่อนตอนนี้กลายเป็นเ กสเฮาส์ ร้านขายของที่ระลึกผุดขึ้นมาแทนที่ บ้านเรือนถอยร่นเข้าไปในตรอกซอกซอยแทน







 ชมนกชมไม้จนถึงวัดกุมเบชวาร์(kumbes hwal Mandir ) วัดนี้ตามประวัติเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในปาตัน เป็นวัดที่สร้างถวายให้พระศิวะในอวตารของ "เทพแห่งคณโฑน้ำ" งานแกะสลักไม้ที่ตัวอาคารบานประตูและคันทวย ฝีมือเป็นเลิศจริงๆ







 ภายในมีชาวฮินดู มาทำพิธีกราบไหว้ของพรกันเนืองแน่น






 กลางลานตามมุมต่างๆ จะมีกลุ่มคนทำพิธีกรรมอะไรสักอย่าง เป็นกลุ่มๆ






 ตัววัดและกิจกรรมภายในวัด....




 จากวัดกุมเบชวาร์ เราเดินย้อนกลับมาที่จตุรัสดูบาร์สแควร์





 ก่อนไปทานอาหารเราแวะวัดDegutale วัดนี้มีหอสูงหลังคาสี่ชั้น เป็นวัดที่สร้างถวายเทพประจำพระองค์ของกษัตริย์มัลละ และใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมตามลัทธีตันตระ

ปัจจุบันก็ยังมีการทำพิธีฆ่าแพะบูชายัณเทพเจ้าอยู่






งานแกะสลักต่างๆตามคันทวยเป็นเทพเจ้าต่างๆงดงามจริงๆ  
 งานไม้แกะสลักได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดเวลาและมีควา มสวยงามไม่น้อยหน้าของโบราณ จึงยังคงความสวยงามให้ชมได้ตลอดไป









พักทานข้าวเที่ยงที่ร้านอาหารละแวกนั้น เพื่อถึอโอกาสขึ้นไปด้านบนเพื่อเก็บภาพจตุรัสดูบาร์ส แควร์มุมสูงด้วย  






หลังอาหารเที่ยง เราจะเดินไปทางใต้ของดูบาร์สแควร์ เพื่อไปวัดมหาพุทธะ และวัด Rato Machhendranath

เส้นทางการเดินช่วงนี้เหมือนเดินอยู่ในตลาดนัดสำเพ็ง ผู้คนพลุกพล่านเบียดเสียด มีรถวิ่งเข้าวิ่งออกแทรกผ่านผู้คน ดูวุ่นวายดีจริงๆ ฉะนั้นทันทีที่เดินแยกเข้าซอยที่จะตรงมายังวัดมหาพุท ธะความวุ่นวายดูจะสลายหายไปให้เราได้หายใจโล่งจมูกตามเดิม






 หลังจากแยกเข้าซอยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะถึงวัดมหาพุทธะ  วัดพุทธเล็กๆที่แทรกตัวอยู่ระหว่างซอกตึก ซึ่งตามประวัติสร้างอุทิศถวายแด่พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้า ตัวเจดีย์วัดออกแบบเป็นทรงศิขรสูง






 ตอนที่ไปถึง มีคนกลุ่มหนึ่งกับพระลามะทิเบต กำลังทำพิธีและสวดมนต์กันอยู่ ดูจากท่าทางและการพูดคุย น่าจะเป็นคนจึน 





 วัดนี้ค่อนข้างคับแคบมากๆ จะเดินจะสวนต้องแทรกตัวหลบกัน ฉะนั้นหลังคนกลุ่มนี้ออกไปแล้ว ก็เป็นทีของเราเข้าไปไหว้พระบ้าง  ที่คราวนี้ได้ทั้งถ่ายภาพ ได้ทั้งไหว้พระ แบกบุญกลับประเทศกันถ้วนทั่ว









 ออกจากวัดมหาพุทธะ ก็แวะไปอีกวัดที่อยู่ใกล้ๆกัน เนื่องจากบัตรค่าเข้ารวมวัดนี้ด้วย วัดนี้น่าจะชื่อ วัดอูคูบาฮาล หลังคาประดับด้วยทองคำและรูปปั้นสัตว์ ตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่13 จึงนับเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่ง 





 ในบริเวณวัดมีรูปหล่อสัมฤทธ์ที่สวยงามมากมาย 

 ดูกันแป๊บเดียวเนื่องจากเย็นมากแล้ว นัดรถที่จะมารับใกล้เวลาแล้วยังต้องเผื่อเวลาเดินกลั บด้วย







 ก่อนถึงประตูวัดเหลือบไปเป็นช่างที่กำลังตกแต่งรูปหล่อ ภาพนี้ไม่มีคำบรรยายดูเองแล้วกันนะ



ยังเหลืออีก 1 แห่ง คือ วัดRato Machhendranath ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์มัจเชนทรานาถ ทุกปีจะมีพิธีอัญเชิญเพื่อร่วมขบวนพิธีขอฝน และถือเป็นเทศกาลที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในเนปาล

แต่เย็นมากแล้ว ทุกคนก็อิดโรยจากการเดินตั้งแต่เช้า และต้องกลับมาให้ทันรถที่นัดไว้ เนื่องจากบริเวณจตุรัสจะมีที่จอดรถแค่รับส่งเท่านั้น จอดแช่นานไม่ได้

กลับมานั่งรอรถที่จตุรัส และถือโอกาสนั่งพักขาและดูคนที่ผ่านไปผ่านมา





น้ายักษ์นั่งได้พักเดียว ก็เริ่มเดินเกร่ไปเกร่มา เพื่อไม่ให้เสียดุลย์ก็ขอลุกเดินเกร่ๆแถวๆนั้นบ้าง

เจอหนุ่มสาวคู่นี้นั่งคุยกันอยู่ รูปเขียนด้านหลังดูล้อเลียนน่าสนุก เหมือนแอบฟังหนุ่มสาวคุยกัน 555
 เดินมาเจอกระทาชายทั้งแก่และไม่แก่นัก จับกลุ่มนั่งคุยกันตามธรรมเนียมของคนเนปาล ไม่กล้าถ่ายนานกลัวเค้าว่าเอาถ่ายแค่ภาพเดียว และหันมาถ่ายแสงยามเย็นที่สาดผ่านเมฆเป็นเส้นสวย เป็นภาพสุดท้ายก่อนอำลา ปาตัน 


 แต่ทริปสำหรับวันนี้ยังไม่จบ เราอ่านเจอในเน็ตและเห็นรูปที่ถ่ายวิวภูเขาหิมาลัยสวยๆจากเมืองลลิตปูร์ที่ออกจากปาตันไปทางใต้ไม่ไกลนัก แต่เนื่องจากคนขับก็ไม่รู้ว่าจะพาไปตรงไหนเพราะไม่เคยมา จึงต้องจอดถามทางไปตลอดกว่าจะเจอจุดที่พอใช้ได้ก็เย็นและท้องฟ้าก็ไปหมอกขุ่นไม่สวย






 ถ่ายกันนิดหน่อย ก็กลับมายังโรงแรม เก็บของและออกไปหาอาหารเย็นทานกัน มื้อนี้เราจะเปลี่ยนมาทานอาหารญี่ปุ่นฝีมือพ่อครัวชา วเนปาลกัน ว่าจะอร่อยสู้บ้านเราได้ไม๊



ผลการชิม รสชาดพอทานได้ แต่ความสดใหม่สู้บ้านเราไม่ได้ ซูชิ ไม่กล้าสั่งเพราะไม่แน่ใจในความสด ทานเสร็จก็เต้นกังนัมสไตล์โชว์ซักหน่อย เพราะทั้งร้านมีแต่พวกเราพวกเดียว สนุกกันไป เหอ เหอ ทำไปด้าย อิอิ 




พบกันตอนหน้าค่ะ และขอบคุณทุกท่านที่อดทนติดตามชมมาจนถึงตอนที่7 นี้ด้วยค่ะ

ติตาม กิรติปูร์ Kirtipur  เมืองโบราณที่น่าเยี่ยมชมอีกแห่งหนึ่ง



ติดตามตอนที่เหลือได้ที่


No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......