Its concentration of narrow streets are lined with small shops selling everything from food and provisions to clothes, walking gear, cakes, pastries, music, DVDs, handicrafts, travel agents and budget hotels.
The area has some very good restaurants. Although prices tend to be significantly higher than non-tourist areas, food hygiene is generally a lot better too.
Thamel also acts as the pre-base camp for mountaineers. It boasts a wide range of mountaineering gear shops, foreign money exchange booths, pubs, clubs and nightlife along with the numerous travel agents and guest houses. All in all, Thamel is home to a wide range of audience of the Nepalese population for entertainment and employment purposes. On Wednesday, 28 September 2011, Thamel was declared a full Wi-fi zone in Kathmandu
From Wikipedia, the free encyclopedia
มหากาพย์เนปาล กาฐมาณฑุ ภาค2 ที่ดำเนินมายาวนานถึง 11 ตอน คงถึงเวลาปิดฉากลงในตอนนี้เป็นตอนสุดท้าย
9 วัน ในการเที่ยวชมแหล่งโบราณสถานที่มีอยู่มากมาย รวมถึง วิวทิวทัศน์ที่มีความเป็นธรรมชาติ ตลอดจนวิถึชีวิตของผู้คนเนปาล ช่างเป็นเวลา 9 วัน ที่ถ่ายภาพมากมายที่สุดเช่นกัน ทุกวันแบตเตอรี่กล้องที่เตรียมมาถึง 3 ก้อน แทบจะหมดเกลี้ยงทุกก้อนในแต่ละวัน บางวันก็หมดก่อนกลับเข้าที่พัก ต้องนำกล้องสำรองที่ติดไปกันเหนียวออกมาใช้
ช่วงแรกๆของทริป เราตระเวณเที่ยวและตระเวณพักตามแหล่งสำคัญต่างๆ 4 แห่ง และ 5 วันสุดท้ายจึงได้ปักหลักพักที่ โรงแรม Excess ในทาเมล
ทาเมล เป็นย่านที่พัก ร้านอาหาร แหล่งช้อปปิ้ง และแหล่งบันเทิง สำหรับคนต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวที่กาฐมาณฑุ คล้ายๆถนนข้าวสารของบ้านเรา
ฉะนั้นที่ทาเมล ทุกสิ่งที่ท่านอยากได้ อยากซื้อ จะสามารถหาได้ที่ทาเมลแห่งนี้
โรงแรมที่พักของเรา ตั้งอยู่ใจกลางทาเมล จะเดินไปทางไหนระยะทางจึงเท่ากันหมด
ค่าที่พักรวมอาหารเช้า ห้องอาหารอยู่บนดาดฟ้าของโรงแรม ที่นักท่องเที่ยวชาติต่างๆ และคนเนปาลชอบนั่งอาบแดดทานอาหารเช้า แต่คนไทยอย่างพวกเรากลับอยากให้มีหลังคากันแดดซะนี่ เราพักที่นี่ 5 คืน วันไหนนักท่องเที่ยวเยอะ ก็จะเป็นอาหารบุฟเฟต์ให้เลือกตักทานเอง วันไหนคนน้อยก็ให้เราสั่งได้ แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ก็เหมือนๆเดิม คือ ขนมปัง ไข่ดาวหรือออมเลต ไส้กรอก กาแฟหรือชา และพิเศษที่ต้องสั่งทุกวันคือ มุสลีโยเกิร์ตราดด้วยน้ำผึ้ง เป็นมื้อที่ทานไฟเบอร์เส้นใยอาหารได้เต็มที่ทุกมื้อที่กาฐมาณฑุในทุกโรงแรม ช่วยระบบขับถ่ายได้ดีจริงๆ ทุกวันที่กาฐมาณฑุจะขับถ่ายได้อย่างโล่งสบายท้องมากๆ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับทาเมล คือ น้ำประปา ครั้งก่อนที่เคยมาเยือนเมือ5-6 ปีที่แล้ว น้ำประปาที่นี่อุดมสมบูรณ์ ไกด์เล่าว่าน้ำที่นี่เป็นน้ำจากหิมะที่ละลายจากเทือกเขาหิมาลัย อยากได้น้ำตรงไหนแค่ ปักท่อเข้าไปที่เชิงเขา หรือโคกดิน ก็จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อทันที
ปัจจบัน ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบกับกาฐมาณฑุโดยตรง น้ำที่เคยสมบูรณ์กลับแห้งขอด บ่อน้ำสาธารณะหลายแห่งกลายเป็นบ่อน้ำร้างที่สกปรก บางบ่อคนเนปาลต้องเข้าแถวรอรองน้ำกลับไปใช้
ระบบประปาของรัฐบาลซึ่งไม่รู้ว่ามีหรือไม่ ก็ไม่สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ยากของผู้คนได้ อีกหน่อยคงเหมือนอินเดียที่คนยากไร้ต้องคลุกดิอยู่กันแบบสกปรก ผละกระทบนี้กระทบกับอุตสาหกรรมโรงแรมที่พัก ร้านอาหารในทาเมลด้วย เกือบทุกโรงแรมต้องซื้อน้ำดิบจากเอกชนที่่มีรถน้ำมาขาย คุณภาพของน้ำก็ไม่รู้ไปสูบมาจากไหน ฉะนั้นเราจึงต้องกลั้นใจอาบน้ำที่ขุ่นเหลือง มีกลิ่น แล้วใช้น้ำขวดสำหรับดื่มใช้ล้างหน้าแปรงฟัน แทน
จากดาดฟ้าโรงแรมที่พัก เราสามารถมองเห็น สเวยัมภูนาท ในระยะไกลได้อย่างชัดเจน เราสามารถถ่ายภาพสเวยัมภูนาทได้ในช่วงเทเล 200 มม. ได้ บางวันที่ท้องฟ้าปลดโปร่ง เราน่าจะได้ทิวเทือกเขาหิมาลัยเป็นฉากหลังได้อย่างงดงาม
ในตอนเช้า ก็เป็นทีของชาวบ้านที่จะออกมาใช้ทาเมลบ้าง บางคนก็ใช้เป็นทางผ่านไปยังที่ทำงาน
บางคนก็นำดอกไม้เครื่องหอม มาบูชาศาลเทพเจ้าที่มีอยู่ทั่วไปในทาเมล
บางคนก็ออกมา จ่ายตลาด ซื้อผัก ซื้อเนื้อ
และสุดท้าย ก็ทำความสะอาดเตรียมเปิดร้านขายของที่ระลึกกับนักท่องเที่ยว
และขอทานก็ยังคงหาพบได้ไม่ยาก
ยังไงก็แล้ว เนปาล กาฐมาณฑุ ทาเมล ยังคงมีเสน่ห์ของภาพวัฒนธรรมชั้นสูงในอดีตกาล ให้เยื่ยมชมและชื่นชมในความเป็นชนชาติที่มีสายเลือดศิลปะที่สูงส่งจนเป็นแหล่งมรดกโลกแหล่งใหญ่ ที่น่าภาคภูมิใจตลอดไป
ติดตามชมตอนก่อนหน้านี้ได้ที่
- ปศุปตินาถ - Pashupatinath
- โพธนาถ - Boudanath
- สางขุ,พัชรโยกินี -Sankhu & Bajrayogini Temple
- เมืองโบราณปัตรตาปูร์ - Bhaktapur
- ชางกูรนารายันและนากาก๊อต - Changu Narayan & Nagarkot
- สเวยัมภูนาท - sweyamphunath
- ปาตันหรือลลิตปูร์ - Patan (Lalipur)
- กิรติปูร์ - Kirtipur , Pharping
- หมู่บ้านมรดกโลกบุงกะมาตีและโกกานา - Khokana&Bungkamati
- กาฐมาณฑุ ดูรบาร์สแควร์ - Kathmandu Durbarsquare
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......