Kirtipur is situated on a ridge with steep hillsides. The residents are reputed as being expert builders and weavers.
Originally a Newar foundation, Kirtipur is still a center of Newar culture. It has been merged with surrounding villages to form the municipality of Kirtipur with a population of 65,602.
It consists of many temples, gumbas (Buddhist monastery) and churches too. Due to the presence of Tribhuvan University, Kirtipur is also a popular area for out-of-town students and professors to rent houses, and they are major contributors to the local economy.
From Wikipedia, the free encyclopedia
จุดท่องเที่ยวสำหรับบันทึกการเดินทางตอนที่ 7 นี้ ขอแนะนำ หมู่บ้านKirtipur อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเมืองกาฐมาณฑุ ราว 5 กิโลเมตร
ในอดีต หมู่บ้านนี้เคยเป็นหัวเมืองชายแดนของปาตัน และเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์มัลละ เรายังสามารถพบการดำรงชีวิตแบบดั่งเดิมในเขตรอบนอกของหมู่บ้านได้ไม่ยากนัก
จุดหมายแรกที่ คนขับรถพาไปก่อนเข้ากิรติปูร์ คือ ลงไปทางใต้ไปยัง Pharping ที่มีวัดลี้ลับพัชรโยกินีแบบตันตระ และถ้ำอสตุรอันศักสิทธิ์ จุดจารึกแสวงบุญสำคัญอีกจุดหนึ่ง
ก่อนถึงฟาร์ปิง รถวิ่งขึ้นเขา ผ่านนาขั้นบันไดและทุ่งมัสตาร์ด ที่กำลังออกดอกสีเหลืองสวยงาม
ถ่ายจนเบื่อ เดินกลับมาขึ้นรถ ผ่านหน้าบ้านที่แจกท๊อฟฟี่ คุณแม่เด็กได้ส่งสร้อยลูกปัดสวมข้อมือให้เป็นการตอบแทน พอเห็นว่าเส้นใหญ่ไปก็ซ่อมปรับแต่งจนพอดี ช่างน่าซาบซึ้งยิ่งนัก น้ำใจที่ให้กันและกันโดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยวาจาใดๆ รับได้ด้วยใจ จากใจถึงใจจริงๆ
เราออกเดินทางต่อจนถึง วัดพัชรโยกินี เดินขึ้นบันไดสูงไปยัง ถ้ำอสตุร (Astura) ซึ่งเชื่อกันว่า พระอรหันต์กูรูริไปเซ หรือพระปัทมสัมภาวะของทิเบต ได้ประทับรอยเศียรและหัตถ์ไว้ที่นี่ แต่ชาวฮินดูกลับเถียงว่า รอยเหล่านี้เป็นของ โกรักนาถโยคี ฉะนั้นที่นี่จึงเป็นจุดจารีกแสวงบุญที่สำคัญจุดหนึ่ง
ด้านล่างของถ้ำ เป็นที่ตั้งของวัดพัชรโยกินี (Barajogini) ที่สวยงามแต่ไม่เปิดให้เข้าชม จึงเก็บภาพเฉพาะด้านนอกไว้
ระหว่างนั่งรอพวกเราที่ยังเก็บภาพไม่เสร็จ
จากนั้นเราย้อนกลับมาทางเดิม เพื่อขึ้นเขากิรติปูร์ แวะทานอาหารกลางวันที่โรงแรมเปิดใหม่ ระหว่างรออาหาร ก็ตื่นตาตื่นใจกับทิวทัศน์เมืองกาฐมาณฑุมุมสูง ที่สามารถเห็นเทือกเขาหิมาลัยทางทิศเหนือเป็นฉากหลัง แม้จะหมอกขาวเห็นได้เพียงรางๆก็ตามที
นอกจากนี้ เรายังสามารถมองเห็น สเวยัมภูนาท ระยะไกลได้ด้วย
อาหารมื้อเที่ยง
สมาชิกยังติดใจวิว จึงตกลงกันว่าจะกลับมาทานข้าวเย็นและเก็บภาพวิวย้ามฟ้าบลูอีกครั้ง ตอนนี้ยังมีเวลาเหลือ จึงตกลงใจไปวัดบนยอดเขาชื่อ ชิลานชุวิหาร (Chilanchu Vihar Stupa)
เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีงานแกะสลักสวยงามมากวัดหนึ่ง
ที่วัดนี้ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์เมืองกาฐมาณฑุ ที่สวยมากจุดหนึ่ง
รอบข้างช่างน่ารื่นรมย์ งานสถาปัตยกรรมก็งดงาม วิวทิวทัศน์กระจ่างชัด
จากที่นี่ เราไปต่อที่วัดทิเบต ไม่ไกลจากวัดนี้มากนัก เราไปถึงเย็นแล้ว โบสถ์ปิด พระทิเบตกลับกุฏิหมดแล้ว
ธรรมชาติช่างงามนัก แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆเป็นเส้นแฉกสวยงาม เราไปขอใช้ดาดฟ้าของอาคารที่กำลังก่อสร้างเพื่อเก็บภาพนั้นไว้
เรากลับมาที่ร้านอาหารเดิมอีกครั้ง แสงน้อยลงไปทุกที แต่ท้องฟ้าก็ยังงดงามนัก
เนื่องจากลืมนำขาตั้งกล้องมาด้วย ฉะนั้นภายใต้แสงอาทิตย์ที่โพล้เพล้อย่างนี้ ถ่ายพอเป็นที่ระลึกเท่านั้นพอ เวลาเหลือก็นั่งเล่นเน็ตปล่อยให้คนอื่นๆเก็บแสงสุดท้ายสวยๆแทน แต่พักเดียวเหมือนฟ้าเป็นใจ ระบบไฟฟ้าที่ เสวยัมภูนาท ขัดข้อง ต้องใช้เวลาแก้ไขนานจนฟ้ามืดดำแล้ว ไฟที่เจดีย์สเวยัมก็ยังไม่เปิด เลยอดถ่ายภาพงามๆกันถ้วนหน้า
หลังทานข้าวเย็น ก็กลับมายังโรงแรมในทาเมล ช้อปปิ้งกันคนเล็กๆน้อยๆ เพราะพรุ่งนี้สมาชิกบางคนในทีมจะแยกตัวกลับกรุงเทพฯ ไปส่งท้ายทานอาหารญี่ปุ่นที่ยังมีกลิ่นอายของเนปาลผสมเป็นการเลี้ยงส่ง
ส่วนพวกที่ยังเหลือ ยังมีโปรแกรมที่่ถ่ายภาพอีก 3 วัน แน่นอนเรากลับไปเก็บภาพที่ โพธนาถ และ ที่สเวยัมภูนาถ ล้างตาที่ถ่ายไม่จุใจ ให้เต็มอิ่ม และยังมีที่ใหม่ที่ยังไม่เคยไป ปรึกษาหารือกันแล้วจะลองไปที่ บุงกะมาตี และ โกธกานา ทางใต้ของปาตัน ดูว่าจะเป็นอย่างไร
ติดตามตอนสุดท้ายได้ในอันดับต่อไป
- ปศุปตินาถ - Pashupatinath
- โพธนาถ - Boudanath
- สางขุ,พัชรโยกินี -Sankhu & Bajrayogini Temple
- เมืองโบราณปัตรตาปูร์ - Bhaktapur
- ชางกูรนารายันและนากาก๊อต - Changu Narayan & Nagarkot
- สเวยัมภูนาท - sweyamphunath
- ปาตันหรือลลิตปูร์ - Patan (Lalipur)
- กิรติปูร์ - Kirtipur , Pharping
- หมู่บ้านมรดกโลกบุงกะมาตีและโกกานา - Khokana&Bungkamati
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......