Sunday 24 July 2011

มหาภารตะทริป ตอน4 หมู่ถ้ำเอลโลร่าศรัทธาหรือการชิงดีชิงเด่นระหว่างศาสนา

Travellers to Aurangabad will find history dating back to the 2nd century BCE, when the Satavahana rulers established their capital in Pratishtanapura, today known as Paithan. It was around this time that the viharas (monasteries) were carved out of caves in what is now Ajanta, and the stunning cave paintings were made, to be lost and rediscovered in the early 19th century. The carvings in the Ellora caves track the changing fortunes of three major religions Buddhism, Hinduism and Jainism between the 5th and the 10th century CE.
 
หมู่ถ้ำเอลโลร่านี้  อยู่ห่างจากออรังคบาธ ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ตามแนวโค้งของเนินเขา Charanadari ณที่ราบสูง Deccan ใกล้กับหมู่บ้านเชิงเขาเล็กๆที่มีชื่อว่า Verul ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นทางการค้าขายจากเหนือลงสู่ใต้ที่มีชื่อว่า เส้นทางDakshinapatha เหล่าบรรดาพ่อค้า นักบวช ผู้แสวงบุญต่างเคยเข้ามาแวะพักที่เมืองนี้ก่อนมุ่งหน้าสู่ท่าเรือทางฝั่งตะวันตก หมู่ถ้ำนี้เริ่มสร้างเมื่อ 7th Century เมื่อ Chalukyas (AD 553-753) เหล่านักเดินทางต่างต้องการสร้างสิ่งแทนตนเพื่อให้คนได้จดจำพวกเขาได้ตลอดไป

ถ้ำเอลลอรานั้นไม่เคยถูกทิ้งร้างดังเช่นศาสนสถานที่อชันตา เป็นเพราะถ้ำแห่งนี้ตั้งอยู่ในเส้นทางที่คนนิยมใช้เดินทาง ผู้คนยังไปยังศาสนสถานอยู่เป็นประจำ อย่างเช่นที่วัดไกรลาศ ก็ยังคงเป็นที่สักการะ ทำบุญมาจนถึงศตวรรษที่ 19 งานสถาปัตยกรรมและงานปฏิมากรรมภายใน Chaityas และวิหารที่เอลลอรานั้นดูแตกต่างจากที่อชันตาอย่างเห็นได้ชัด ถ้าจะเปรียบกันในส่วนของภาพวาดและรูปสลักต่างๆนั้น ที่เอลลอรามีแสดงถึงความเป็นโลกมนุษย์มากกว่า

ถ้ำเอลโลร่าประกอบด้วยถ้ำทั้งหมด 34 ถ้ำ  ถ้ำที่ 1- 12 เป็นถ้ำของศาสนาพุทธ  ถ้ำที่ 13-29 เป็นถ้ำของศาสนาฮินดู และ ถ้ำที่ 30-34 เป็นถ้ำของศาสนาเชน

ประวัติการสร้างถ้ำ ถ้ำในเอลโลร่า สร้างในพุทธศตวรรษที่ 9-12 ในขณะที่ การสร้างถ้ำอชันตา กำลังจะสิ้นสุดลง โดยเริ่มสร้างจาก ด้านใต้ ซึ่งเป็นของ ศาสนาพุทธ ก่อน จนสิ้นสุดการสร้างแล้ว  ศาสนาฮินดู จึงได้สร้างถ้ำขึ้น ตามอย่างบ้าง โดยสร้างต่อจาก ถ้ำของศาสนาพุทธ จนศาสนาฮินดู สร้างสิ้นสุดลง,  ศาสนาเชนก็ได้สร้างถ้ำ ต่อจากศาสนาฮินดู ต่อไป.

จุดประสงค์ ในการสร้างถ้ำเอลโรล่า เมื่อดูจนครบทั้ง 3 ศาสนาแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า แตกต่างกันมาก.

สำหรับศาสนาพุทธ สร้างถ้ำขึ้น เพื่อใช้ประกอบ พิธีสังฆกรรมจริงๆ มีสังฆาราม เป็นที่อยู่อาศัย ของพระภิกษุ มีโรงเรียน ที่พระภิกษุใช้ ในการเรียน การสอนจริงๆ.

ศาสนาฮินดู เมื่อมาเห็นถ้ำหิน แกะสลัก ของศาสนาพุทธแล้ว จึงได้ทำขึ้นมาบ้าง โดยแกะสลักหินเป็นถ้ำ อย่างงดงาม วิจิตรพิศดาร ใหญ่โต มีเครื่องประดับมากมาย, ซึ่งการสร้างขึ้น ในลักษณะนี้ น่าที่จะมีไว้เพื่อ แสดงความยิ่งใหญ่ แห่งศาสนาของตน มากกว่าที่จะเป็น ศาสนสถาน ที่ใช้ประกอบ พิธีกรรมจริงๆ.

ส่วนศาสนาเชนนั้น ได้สร้างถ้ำ ตามขึ้นมาบ้าง และมีการแกะสลักหิน อย่างงดงาม มากเช่นกัน.

ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏ แก่ผู้ที่ได้ชมถ้ำเอลโลร่า เหล่านี้ จึงให้ความรู้สึก ที่แตกต่างกัน อย่างชัดเจน
ในขณะที่ศาสนาพุทธ ให้ความรู้สึกที่เรียบง่าย ดูสงบเย็น และเป็นประโยชน์, 
ศาสนาฮินดู ให้ความรู้สึก แบบหรูหรา เต็มไปด้วยวิจิตรศิลป์ ที่อลังการ, 
และศาสนาเชน มุ่งเน้นการเผยแผ่ ให้รู้จักองค์ แห่งศาสดามหาวีระ และมีจุดเน้น อยู่ที่การเปลือยกาย ให้เห็นอวัยวะเพศ อย่างชัดเจน.
----



ถ้ำของศาสนาพุทธ ที่เอลโลร่านี้ มีลักษณะแตกต่างจาก ถ้ำที่อชันตา ในขณะที่ ถ้ำอชันตาเป็นหน้าผา จึงใช้วิธีเจาะหิน เข้าไปเป็นโพรงถ้ำเลย แล้วแกะสลัก เป็นโบสถ์ หรือวิหาร หรือสังฆาราม.

ส่วนที่เอลโลร่านี้ เป็นแนวภูเขา ติดต่อกันเป็นพืด เตี้ยบ้าง สูงบ้าง การเจาะเป็นถ้ำ ที่เอลโลร่า จึงยากกว่ามาก  ถ้าเป็นภูเขาที่สูงมากๆ ก็ต้องใช้วิธี ตัดเขาลงมาทั้งลูก เพื่อให้เป็น หน้าตัดตรงก่อน แล้วจึงเจาะเป็นคูหา เข้าไปข้างใน 

ในขณะที่ อชันตาแกะสลัก ในลักษณะเป็นเจดีย์ หรือวิหาร ที่มีพระประธาน และภาพวาด ประดับฝาผนัง และเพดานสำหรับ แสดงสู่สาธารณชน จึงมีความสวยงามเต็มที่ แต่ที่เอลโลร่า ถ้ำส่วนใหญ่ ใช้เป็นสังฆารามบ้าง ที่เรียนบ้าง มีแต่ความใหญ่โต เทอะทะไปหมด ส่วนความละเอียด ประณีต อ่อนช้อย เทียบไม่ได้กับที่อชันตาเลย จึงไม่มีความสวยงาม เท่าที่อชันตา
---

ภายในถ้ำของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน จะมีรูปแกะสลักพระโพธิสัตว์ โดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เทพแห่งความปรานีที่มาในรูปพระปัทมปาณี พระหัตถ์ทรงดอกบัว และที่ยืนเคียงคู่กันเสมอก็คือ พระโพธิสัตว์วัชรปาณี พระหัตถ์ทรงสายฟ้า เป็นเทพแห่งฝน ตามความเชื่อพระโพธิสัตว์เป็นผู้ที่บำเพ็ญบารมีธรรมสูงสุดจนบรรลุโพธิญาณ เพียงแต่ระงับจิตใจไว้ไม่ให้ก้าวเข้าสู่นิพพาน เพื่ออยู่ช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์เสียก่อน
---

ห้องโถง ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม
---


ถ้ำที่ 10  เป็นถ้ำเจดีย์ มี 2 ชั้น เป็น ถ้ำที่สวยงามมากที่สุด จัดว่าเป็นถ้ำวิศวกรรม หรือถ้ำแห่งการช่าง.


ภายในถ้ำ มีเพดานทำเป็นโดม แบบสาญจี มีการแกะสลักหิน เป็นคานตามแบบศิลปะ แบบสาญจี มีหน้าต่างเป็นรูปเกือกม้า เพื่อให้แสงสว่าง ส่องเข้าไปภายใน.
เกือบชิดผนังท้ายห้อง ประดิษฐานพระสถูป ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 9 ม. ด้านหน้าสถูปนั้น มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางปฐมเทศนา ประทับนั่งบน บัลลังก์สิงห์ เป็นพระประธาน และมีพระอัครสาวก ยืนอยู่ข้างๆ.
----





ถ้ำของศาสนาฮินดู มีตั้งแต่ถ้ำที่ 13 ไปถึงถ้ำที่ 17 ซึ่ง ถ้ำที่ 16 หรือที่มีชื่อว่า ถ้ำไกรลาศ เป็นถ้ำ ที่เจาะภูเขาทั้งลูก แล้วแกะสลักเข้าไป เป็นสถานที่ต่างๆ จึงมีความใหญ่โตที่สุด สวยงามที่สุด 

คาดกันว่า หินที่แกะออกมา จากถ้ำนี้หนักถึง 200,000 ตัน. การแกะสลัก จะเริ่มแกะ มาจากยอดเขา ในส่วนของ หลังคาก่อน แล้วค่อยๆ แกะลงสู่พื้นล่าง ทำให้ต้องวางแผน การสร้างไว้อย่างดีเลิศ ในการสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ต่อไป
---






ตรงกลางของถ้ำไกรลาศ  เจาะและสลักหินเป็นโบสถ์  มีขนาดเท่าของจริง.

ข้างล่างของโบสถ์  มีฝูงช้าง ที่เป็นหินแกะสลัก ขนาดเท่าช้างตัวจริงๆ จำนวน หลายสิบเชือก มีอิริยาบถต่างๆ เหมือนกำลังแบก โบสถ์อยู่บนหลัง ช่วยกันพาวิ่งไป.
---





ตามฝาผนัง บริเวณรอบๆ โบสถ์ชั้นล่าง ทางด้านนอก มีเทพเจ้าต่างๆ ตามเรื่องราว ในลัทธิศาสนาฮินดู มีทั้งพระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม และเทพปางต่างๆ บ้างมีมือหลายสิบมือ. และมีภาพหินแกะสลัก เป็นเรื่องในวรรณคดีต่างๆ เช่น รามายณะ (รามเกียรติ์) และ สงครามภารตยุทธ แต่ละเรื่อง มีภาพเป็นร้อยๆตอน.
---



ตรงข้ามกับโบสถ์ ก็มีวิหาร หน้าวิหาร มีรูปเทพเจ้าต่างๆ ของเขา มีขนาดใหญ่มาก. ในวิหาร มีหินแกะสลักรูปวัว หันหน้าไปทางศิวลึงค์ในโบสถ์ อันว่าวัวนี้ เป็นพาหนะของพระอิศวร จึงต้องอยู่คู่กับ ศิวลึงค์ตลอดไป.
---





วิธีการบูชาขอพรพระอิศวร

คนดูแลจะแนะนำให้เราไหว้ขอพรก่อน แล้วจึงเอามือไปแตะที่ศิวลึงค์ก่อนเอามือนั้นไปอังเหนือเปลวไฟ  จากนั้นจึงเอาฝ่ามือที่อังไฟมาแตะที่หน้าผาก เป็นอันเสร็จพิธี (แล้วอย่าลืมบริจาคเงินวางไว้ข้างฐานศิวลึงค์ด้วย)
---


จากนั้นเราก็ออกจากวัดเขาไกรลาศ เข้าถ้ำโน้นออกถ้ำนี้จนจำไม่ค่อยได้ว่าถ้ำหมายเลขอะไรบ้าง  มาสะดุดที่ถ้ำนี้ ไม่ใหญ่โตมากนัก แต่การแกะสลักลายที่เสา และ รูปปั้นแกะสลักเทพต่างๆ ตรึงเราให้อยู่ที่นี่ค่อนข้างนานที่เดียว

ลวดลายที่เสาจะแกะสลักไม่ซ้ำกันเลย
---







ถ้ำนี้คงเป็นถ้ำที่บูชาพระอิศวรแน่ๆ เพราะมีรูปแกะสลักพระอิศวรและชายารวมทั้งครอบครัวตลอดทั้งถ้ำ
----





ที่น่าสนใจคือ มีรูปแกะสลักพระอิศวรเป็นภาพโครงกระดูก ซึ่งแปลกแตกต่างไม่เคยเห็นมาก่อนด้วย  ข้างๆผนังมีภาพแกะสลักหมู่หญิงสาว ไม่ทราบว่าเป็นเหล่าสนมกำนัลในหรือ ครอบครัวเพราะมีภาพพระพิเณศรวมอยู่ในกลุ่มด้วย
---





ถ้ำศาสนาเชน มีพิเศษที่ ดอกบัวติดเพดาน ดอกใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 ม. และมีหัวเสาสวยงามมาก.
----



ก่อนจะจบเอลโลร่า ก็ต้องขอขอบคุณทางวิชาการที่เผยแพร่ทางเน็ตที่นำมาใช้ประกอบรูปภาพทั้งหมดนี้  ค่ะ

และในที่สุดมหากาพย์ชุดมหาภารตะทริป ก็ดำเนินมาจนถึงตอนสุดท้ายแล้วค่ะ  10 วัน ในอินเดียช่างคุ้มค่าการเดินทางที่ได้คุณค่าทั้งความรู้ทางโลก และ เห็นสัจธรรมความจริงแห่งชีวิตจากผู้คนอินเดียที่ได้พบเห็นตลอดทริปนี้

สุดท้ายภาพเกือบทั้งหมดที่ถ่ายในโบราณสถานต่างๆ ต้องขอบคุณอาจารย์ภูฯ ที่ให้ยืมเลนส์ฟิชอายมาใช้ในครั้งนี้ ทำให้สามารถถ่ายภาพภายในโบสถ์ วิหาร ที่ทั้งมืด และ แคบ ได้กว้างมากกว่าเลนส์ที่มีอยู่ และ ให้มุมมองที่แปลกตาค่ะ
----





แล้วท่านละคะ  ได้ชมมหาภารตะทริปมาแล้วทุกตอน รู้สึกอย่างไร.....

ยังอยากเปิดประตูเข้าไปเยี่ยมอินเดียบ้างไม๊












No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......