Bhaktapur (Nepali: भक्तपुर Bhaktapur ), also Bhadgaon or Khwopa (Nepal Bhasa: ख्वप Khwopa), is an ancient Newar town in the east corner of the Kathmandu Valley, Nepal. It is located in Bhaktapur District in the Bagmati Zone. It is the third largest city in Kathmandu valley and was once the capital of Nepal during the great Malla Kingdom until the second half of the 15th century.
Bhaktapur is listed as a World Heritage by UNESCO for its rich culture, temples, and wood, metal and stone artwork.
It is the home of traditional art and architecture, historical monuments and craft works, magnificent windows, pottery and weaving industries, excellent temples, beautiful ponds, rich local customs, culture, religion, festivals, musical mystic and so on. Bhaktapur is still an untouched as well as preserved ancient city that is itself a world to explore for tourists.
From time immemorial it lay on the trade route between Tibet and India. This position on the main caravan route made the town rich and prosperous.
Bhaktapur Durbar Square is a conglomeration of pagoda and shikhara-style temples grouped around a 55-window palace of brick and wood. The square is one of the most charming architectural showpieces of the valley as it highlights the ancient arts of Nepal. The golden effigies of the kings perched on the top of stone monoliths, the guardian deities looking out from their sanctuaries, the wood carvings in every place — struts, lintels, uprights, tympanums, gateways and windows — all seem to form a well-orchestrated symphony.[2] The main items of interest in the Durbar Square are:
- The Lion Gate: Dating as far back as 1696 A.D., this gate is guarded on either side by two huge statues of lions. Alongside there are two stone images of Bhairab (the dreadful aspect of Shiva) and ugrachandi (the consort of Shiva in her fearful manifestation).[2]
- Lu Dhowka (The Golden Gate) is said to be the most beautiful and richly moulded specimen of its kind in the entire world. The door is surmounted by a figure of the goddess Kali and Garuda (mythical man-bird) and attended by two heavenly nymphs. It is embellished with monsters and other mythical creatures of marvellous intricacy. In the words of Percy Brown, an eminent English art critic and historian, the Golden Gate is "the most lovely piece of art in the whole Kingdom; it is placed like a jewel, flashing innumerable facets in the handsome setting of its surroundings." The gate was erected by King Ranjit Malla and is the entrance to the main courtyard of the palace of fifty-five windows.[2]
- The Palace of Fifty-five Windows was built during the reign of King Yaksha Malla in 1427 A.D. and was remodeled by King Bhupatindra Malla in the seventeenth century. Among the brick walls, with their gracious setting and sculptural design, is a balcony of fifty-five windows, considered to be a unique masterpiece of woodcarving.[2]
- The Picture Gallery is of considerable value which contains ancient paintings belonging to the Hindu and Buddhist Tantrism of various periods and descriptions. This gallery is closed Tuesday.[2]
- The Statue of King Bhupatindra Malla in the act of worship can be seen on a column facing the palace. Of the square's many statues, this is considered to be the most magnificent.[2]
- Batsala Temple: The stone temple of Batsala Devi depicts many intricate carvings; however, it is most famous for its bronze bell, known to local residents as "the bell-of barking dogs," as when it is rung, dogs in the vicinity begin barking and howling. The colossal bell was hung by King Ranjit Malla in 1737 A.D. and was used to sound the daily curfew. It is nowadays rung every morning when goddess Taleju is worshiped.[2]
- The Pashupati Temple is a replica of the famous temple by the Bagmati river in Kathmandu and is widely noted for the erotic carvings on its struts. 11 was built by King Yakshya Malla.[2]
From Wikipedia, the free encyclopedia
บันทึกการเดินทางกาฐมาณฑุ ตอน4 (เมืองปักตาปูร์ Bhaktaphur)
ตอนที่4 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของทริป หลังจากออกจากหมู่บ้างชางกู ก็วิ่งตรงมายังเมืองปักตาปูร์ กำหนดการเราจะค้างที่นี่ 2 คืน ที่พักชื่อ Bhadgaon Guesthouse ซึ่งตั้งอยู่ตรงจตุรัสดูรบาร์สแคว์ หรือใจกลางเมืองโบราณแห่งนี้
เมืองโบราณปักตาปูร์ ได้รับการอนุรักษ์จากยูเนสโกเช่นกัน และเป็นเมืองโบราณที่ยังหายใจได้ คืออยู่ท่ามกลางบ้านเรือนพักอาศัยของชาวเนปาล ที่ยังอยู่อย่างกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกันและกัน และได้รับความร่วมมือด้วยดีไม่มีสิ่งแปลกปลอมให้สะดุ ด หรือ เสียความรู้สึกแม้แต่น้อย
เห็นอย่างนี้ให้สะท้อนกลับมาดู อยุธยา เมืองเก่า ที่เราพยายามจะให้เป็นเมืองเก่า แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากคนที่อยู่ในพื้นที่แม้แต่น้อย อยากจะสร้างบ้านเรือนอย่างไรก็สร้างไป รูปทรงทันสมัยอย่างไรก็ได้ สร้างเกยกับเจดีย์เก่าแก่ก็ได้หน้าตาเฉย เรายังห่างชั้นกับปักตาปูร์หลายขุมนัก
ทันทีที่เช็คอินเข้าที่พัก ก็รีบรุดออกมายัง จตุรัสดูรบาร์สแคว (Bhaktapur Durbar Square ) แสงยามบ่ายแสงเงางดงามสุดยอดมาก
แสงหยอด แสงหย่อม แสงเฉียง แสงอะไรก็เอาหมด ถ่ายคนสนุกมาก เพราะคนเนปาลนิยมนั่งตากแดดไม่หลบเข้าที่ร่ม และก็อารมณ์ดี ยอมให้ถ่ายภาพตามอัธยาศัย
มัวสนุกกับแสงเงา..... เราไปต่อกันที่จตุรัสดูรบาร์สแควร์
ที่ดูรบาร์สแควร์ จะมีงานสถาปัตยกรรมโบราณกระจุกรวมอยู่หลายอย่าง เช่น
พระราชวัง 55 หน้าต่าง (Palace of 55 Windows) เป็นพระราชวังที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมเนปาลในสม ัยศตวรรษที่ 18 เช่นที่ระเบียงของหน้าต่างทั้ง 55 บานซึ่งอยู่บนกำแพงอิฐ ได้รับการออกแบบและมีการจัดวางสวยงาม ระเบียงนี้จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญในด้านการแกะส ลักไม้
ประตูทองคำ(Golden Gate) ที่มีงานแกะสลักและหุ้มด้วยทองคำ เป็นบานประตูเก่าที่งดงามที่สุดบานหนึ่ง
สิงห์หินคู่ที่อยู่หน้าพระราชวัง ก็มีความงดงามและมีประวัติสำคัญ มีคนเนปาลมาบูชากราบไหว้ตลอดไม่ขาดสาย
อาคารไม้รอบๆ ดูรบาร์สแควร์ ก็มีความงามด้วยงานไม้แกะสลักที่วิจิตรบรรจง มากมาย ถึงแม้จะมีการซ่อมแซมทำขึ้นมาใหม่ แต่ฝีมือการแกะสลักก็ยังยอดเยี่ยมสวยงาม และกลมกลืนกับของเก่าอย่างลงตัว
เรามาหยุดถ่ายวิวพระอาทิตย์ตกที่วัดหินชื่อ พัตสะละ เทวี (Batsala Devi) เป็นวัดที่มีงานสถาปัตยกรรมแบบศิขะระ และงานแกะสลักอันงดงาม บนระเบียงวัดมีระฆ้งทองสัมฤทธิ์แขวนอยู่ซึ่งเป็นที่ร ู้จักกันในชื่อ “ระฆังหมาเห่า” (Bell of Barking Dogs) ในสมัยก่อนมีการตีระฆังมหึมาใบนี้เพื่อบอกเวลา
ข้างๆ จะมีเสาหินบนยอดมีรูปปั้นของกษัตริย์ภูปตินทระ มัลละ (King
Bhupatidra Malla) กำลังอยู่ในท่าแสดงความเคารพ
ซึ่งตั้งอยู่บนเสาหินที่หันหน้าเข้าสู่ตัวพระราชวัง5 5 พระแกล นั้น
ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นอนุสาว
รีย์แห่งมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ. 2522
ถ่ายจนแสงหมดสำหรับวันนี้
ดูเหมือนเราจะสนุกกับการถ่ายภาพสำหรับวันนี้จนเลยมื้ อกลางวัน
มาชนมื้อเย็น แต่ก็พร้อมใจที่จะอดต่อไปอีกนิดเพื่อขอถ่ายภาพพรอตเท
รตสาวน้อยเนปาลี ตอนอาทิตย์อัสดงกับวิวโบราณสถานแห่งนี้
ชุดนี้ลองถ่ายแสงที่สลัวขนาด 1 แรงเทียนว่าจะเป็นอย่างไร ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง เพราะความรีบร้อนลืมหยิบเอามาด้วย
รออยู่พักใหญ่ ปรากฎว่าสาวน้อยยังวุ่นกับการเก็บร้านขายของที่ระลึก
ขอผลัดไปวันพรุ่งนี้แทน เราก็เลยเชิญพวกเธอมาทานข้าวเย็นด้วยกันกับพวกเรา
มื้อนี้เต็มที่เพราะรวบยอด 2 มื้อ
อาหารเนปาลอร่อยมากมาย แต่....รอนานมาก กว่าจะทานเสร็จครบทุกคน ก็ดึกมาก
กลับมาที่พัก อาบน้ำ ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตีห้า หัวถึงหมอนก็หลับสนิท
เช้านาฬิกาปลุกตามเวลาที่ตั้งไว้ ตั้งใจจะเก็บภาพพระอาทิตย์ขึ้น เราพักกันอยู่ชั้น5 ซึ่งเป็นชั้นบนสุด ด้านบนเป็นดาดฟ้า เหมาะกับการเก็บภาพวิวยิ่งนัก
แต่วันนี้ก็เหมือนเมื่อวาน หมอกหนา มองไม่เห็นเทือกเขาเหมือนเดิม
กลับลงมาที่ห้องพัก ระหว่างรอเพื่อไปทานอาหารเช้าพร้อมกัน ก็ขอเก็บวิวจากด้านบนห้องพักลงมายังถนนด้านล่าง
ประหลาดใจกับการขายเนื้อสัตว์ที่นี่ บ้านเราจะชำแหละตามยาวของตัวสัตว์ ที่นี่ชำแหละตามแนวขวาง ที่อินเดียจะไม่พบเห็นการขายเนื้อสัตว์ให้เห็นจะจะอย ่างนี้ คงแอบๆขายตามซอกตามซอย แต่ที่เนปาลโดยเฉพาะตามจุดที่มีนักท่องเที่ยว จะเห็นการซื้อขายเนื้อสัตว์เปิดเผย
เกสเฮาส์นี้มี 2 สาขา แต่อาหารเช้ามีจุดเดียว
ฉะนั้นเราต้องเดินไปที่สาขาแรกซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกันน ัก ระหว่างทาง
ก็ถ่ายภาพตลาดเช้าไปเรื่อยๆ ตลาดเช้าก็ขายกันรอบๆโบราณสถาน
รูปแกะสลักสิงห์ก็กลายเป็นพ่อค้ากะเค้าด้วย
แสงยามเช้า สวยงามยิ่งนัก เสียดายท้องฟ้าขุ่นขาวด้วยหมอก ไม่แจ่มใส
แวะเก็บภาพ "วัดเนียตะโปลา" (Nyataponla Temple) วัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นศาสนสถานที่สูงที่สุดในเนปาล มีความสูงถึง 50 เมตร มีหลังคา 5 ชั้น สร้างขึ้นเพื่อสักการะ “เทพเจ้าสิทธิลักษมี” (Siddhi Lakshmi) แต่มีเพียงพระชั้นสูง เท่านั้นที่จะมีโอกาสได้เห็นรูปปั้นเทพเจ้า
รูปปั้นที่เชิงบันได ก็มีคติธรรมของศาสนาฮินดูแฝงอยู่ เริ่มจากรูปคนชั้นล่างสุด ถัดมาคือช้างซึ่งถือว่ามีกำลังมากกว่าคน 10 เท่า สูงขึ้นไปเป็นสิงห์จะมีกำลังมากกว่าช้าง 10 เท่า เช่นนี้เป็นชั้นๆไป
กว่าจะเดินถึงห้องอาหาร พวกเราก็เป็นพญาน้อยชมตลาดกันหนุกหนาน
ข้อดีของการมากันเองไม่ผ่านทัวร์ก็ดีอย่างนี้ สบายๆชิวชิว ไม่ต้องเร่งรีบ
ที่ห้องอาหารเป็นลานกลางแจ้ง ที่ล้อมรอบด้วยอาคารสูง
กับมื้อเช้าขนมปังปิ้งทาเนย ไส้กรอกทอด และ
มันฝรั่งผัดกับหอมใหญ่และพริกหวาน และโยเกิร์ต
ทานอาหารเสร็จแล้ว ก็ขอตะกายขึ้นไปบนดาดฟ้า เก็บภาพปักตาปูร์มุมสูงสักนิด
ไม่ได้ตื่นตาตื่นใจ เพราะหมอกบางๆทำให้ทัศนวิสัยไม่ค่อยแจ่ม ท้องฟ้าก็ฝ้าขาว
กลับลงมาก็เตรียมออกเดินชมเมือง จุดแรกคือ ลานปั้นหม้อ ( Pottery Square ) อยู่ทางทิศใต้ของดูรบาร์สแควร์ เดินไม่ไกลนัก ระหว่างทางเก็บภาพตลาดเช้ารายทางไปเรื่อยๆ บรรยากาศดูเข้ากับเมืองจริงๆ ขนาดตาชั่งยังเป็นโบราณ มาหยุดถ่ายภาพกับร้านตัดผมริมทาง
เดินต่อมาอีกนิดเดียวก็ถึงลานปั้นหม้อ ......
เราเดินมาถึงหมู่บ้านปั้นหม้อ ที่โด่งดัง ใครมาปักตาปูร์ ก็ต้องมาแวะที่นี่ ชาวบ้านแถวนี้จึงชินกับการถูกถ่ายภาพ
คนปั้นก็ปั้นไป...........
ปั้นกันรวดเร็วมาก แป๊ปเดียวเสร็จ ขึ้นใบใหม่
คนขนไปตากแดดชุบสีน้ำตาล ก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป วนเวียนเช่นนี้ทุกวัน คงเหมือนพวกเรา เช้าขึ้นก็ออกจากบ้านไปทำงาน เย็นลงก็กลับบ้าน วนเวียนอย่างนี้ทุกวี่ทุกวัน
เด็กๆแถวนั้น
จากทางใต้ของเมือง เดินย้อนกลับมาหน้าทีพักจุดศูนย์กลาง คราวนี้ย้ายไปด้านตะวันออกของเมืองเพื่อไปชม หน้าต่างนกยูง (The Peacock Window) ที่ Dattareya Square
เก็บเล็กเก็บน้อยระหว่างไปเรื่อยๆ ผ่านร้านขายทอง ที่ไม่รู้ว่าทองจริงหรือเก๊ แต่ถ้าเป็นเมืองไทยร้านข้างถนนอย่างนี้เราต้องเชื่อไ ว้ก่อนว่าของเก๊
เก็บภาพรูปแกะสลักที่อยู่รายรอบไว้ และพระองค์นี้ที่อยู่ในห้องกระจก มีฉากบังขวางอยู่ เวลาถ่ายต้องถ่ายรอดรู
พระองค์นี้เป็นหัวข้อหลังจากกลับมาเมืองไทยแล้วว่า เราควรนำเสนอแบบไหนถึงจะโดนใจ เพราะด้วยสีพระพัตรแดงเข้มก็เป็นจุดเด่นสะดุดตา แต่ถ้ามองในด้านความขลังก็น่าจะทำในแบบขาวดำ
ที่เนปาลนี่ หันซ้ายก็ลวดลาย หันขวาก็ไม้แกะสลัก ฝีมือวิจิตรบรรจงอย่างนี้จะไม่ให้หมดเมมโมรี่ไปกว่า ห้าพันภาพได้ยังไง
หน้าต่างนกยูง ฝีมือวิจิตรมาก แต่ก็คิดในใจยากจะเชื่อว่าเป็นของเก่า ดูสภาพไม้น่าจะผุพังไปบ้างแล้ว อันนี้น่าจะซ่อมขึ้นมาใหม่มากกว่า
แวะพักขา และ ทานข้าวเที่ยงกับร้านอาหารริมทางแถวนั้น กว่าจะได้อาหารที่ใช้เวลาปรุงไม่น้อยกว่า 40 นาที กว่าจะทานเสร็จก็หายเมื่อย พร้อมจะออกเดินต่อได้
กว่าจะเดินกลับมาถึงที่พัก ก็ระทดระทวยแทบเป๋ ขอแวะพักซักกะเดี๋ยว ขออาบน้ำหน่อยแล้วค่อยออกไปต่อ แยกย้ายกับหนุ่มๆที่ยังบ้าพลังมีแรงเดินต่อ ปล่อยเค้าไป นัดกันตอนเย็นพบกันที่ หน้าพระราชวัง 55 พระแกล
ช่วงนี้ได้อาบน้ำให้สดชื่น และ นั่งพักขาพักใหญ่
พักจนเกือบเพลินจะสี่โมงเย็นแล้ว แต่หมอแก้ว คุณหมอสาวที่หน้ายังละอ่อนเหมือนเด็กมัธยม ขอนอนต่ออีกนิด เลยแยกออกมาคนเดียว ตอนนี้เราเดินกันรอบๆที่พักจนปรุแล้ว ไม่หลงแน่ ถ้าหลงก็กลับมาเจอกันที่พัก สะดวกจริงๆ
คราวนี้ขอเข้าไปด้านในพระราชวัง 55พระแกล ซะหน่อย ให้สมกับเป็นวังต้องมีทหารถือปืนเฝ้าหน้าประตู เราก็ไม่แน่ใจว่าเค้าจะให้ผ่านหรือไม่ แต่พอชี้ที่ด้านในทหารยามก็พยักหน้าให้ผ่านเข้าไปได้ ด้านในนอกจากระเบียงไม้แกะสลักที่สวยงามแล้ว ก็มีวัดฮินดูที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเคยห้ามถ่ายรูป เราก็เลยเกร่ไปที่สระน้ำสำหรับกษัตริย์ลงสรงน้ำที่นี ่
กลับออกมา ก็ยังมองหาพวกเราไม่พบซักคน เกร่อยู่แถววัดหินพัตสะละ เทวี (Batsala Devi) คราวนี้ควักเจ้าพานา 7-14มม. ที่คุณเดชให้ยืมมาใช้ ออกมาสำแดงเดชกับที่แคบๆซะหน่อย
นัดเจอกันที่ห้องอาหาร จากนั้นก็แยกไปเดินตลาดเช้า ตรงข้ามโรงแรมมีวัดเล็ก เล็งไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว มาตั้งหลักรอถ่ายคนมาให้อาหารนกพิราบ
ด้านหลังวัดมีทางเชือมไปยังตลาดสดที่ชุลมุนวุ่นวาย
จบตอนปักตาปูร์ อันยาวนานถึง 5 หน้า ซะที
คราวหน้าจะพาไป วัดชางกูรนารายัน และ ขึ้นเขานาการ์ก๊อต ค่ะ
ติดตามตอนที่เหลือได้ที่
- ปศุปตินาถ - Pashupatinath
- โพธนาถ - Boudanath
- สางขุ,พัชรโยกินี -Sankhu & Bajrayogini Temple
- เมืองโบราณปัตรตาปูร์ - Bhaktapur
- ชางกูรนารายันและนากาก๊อต - Changu Narayan & Nagarkot
- สเวยัมภูนาท - sweyamphunath
- ปาตันหรือลลิตปูร์ - Patan (Lalipur)
- กิรติปูร์ - Kirtipur , Pharping
- หมู่บ้านมรดกโลกบุงกะมาตีและโกกานา - Khokana&Bungkamati
No comments:
Post a Comment
ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......