Friday 19 April 2013

พาเที่ยวพม่า-มัณฑะเลย์ (Mandalay)


Mandalay  is the second largest city (after Yangon), and a former capital of Myanmar. The city is the economic and religious hub of upper Myanmar. The city is centred around the Royal Palace, and has wide lanes filled with bicycles and motorcycles. Mandalay is known for its millionaires, its monks (half of the country's monks reside in Mandalay and surrounding areas), and its cultural diversity.















 
มัณฑะเลย์  เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่า ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1857 โดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ ที่อยู่ใกล้เคียง

เป็นราชธานีสุดท้ายของราชวงศ์พม่า ก่อนที่ระบอบกษัตริย์จะถูกโค่นล้มลงและก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มัณฑะเลย์ถูกลดฐานะลงเป็นแค่เมืองอาณานิคมที่อังกฤษ ตั้งชื่อให้ใหม่ว่าฟอร์ตดัฟเฟอรีน ปัจจุบัน มัณฑะเลย์ได้ชื่อว่า เป็นเมืองที่มีนาฎศิลป์และคีตศิลป์ ดีที่สุดในประเทศและถึงแม้จะไม่ได้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาพุทธศาสนาดังที่ พระเจ้ามิงดงทรงหวังเอาไว้ แต่มัณฑะเลย์ก็มีวัดวาอารามที่สำคัญที่สุดในพม่าอยู่หลายแห่ง






Shwenandaw Monastery is a monastery made entire out of teak wood with beautiful intricate carvings. It was originally part of the royal palace built by King Mindon and moved to its current location by his son, King Thibaw in the late 19th century. It is the only major building from the original wooden royal palace to have survived the bombing during World War II, and thus is the only authentic part of the royal palace which can still be seen today. 

วิหารชเวนันดอร์ ในอดีตนั้นเคยเป็นวัดชเวนันดอร์มาก่อน ซึ่งตั้งในเขตพระราชวังมัณฑะเลย์ หลัง จากที่พระเจ้ามินดง สิ้นพระชนม์ลงที่อารามแห่งนี้ พระเจ้าตี่ป่อก็โปรด ให้ย้ายวัดชเวนันดอร์ออกมาไว้ยังที่ตั้งในปัจจุบัน พระเจ้าตี่ป่อทรงใช้อารามนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมส่วนพระองค์ ภายหลังจึงได้ถวายให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ 

วิหารชเวนันดอร์ได้ชื่อว่ามีงานไม้ ฝีมือวิจิตรปราณีตมาก ในสมัยก่อนวิหารแห่งนี้เคยหุ้มด้วยทองประดับกระจกสีทั้งภายในและภายนอก แต่เวลานี้ทองได้หลุดลอกออกหมด ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่บ้างจะเป็นบริเวณเพดานเท่านั้น 















Maha Myat Muni Paya (Burmese: ma-ha myah mu-ni pei-ya)  is Myanmar's second holiest pilgrimage site. It is a 4-metre high Buddha statue, made of gold and decorated with precious jewels. The image was brought from Rakhine State, southeast of Mandalay.

พระมหามัยมุนี (Mahamyatmuni Paya)
ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของชาวยะไข่แห่งเมืองธัญญวดี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกของพม่าติดกับบังคลาเทศ) โปรดฯให้สร้างพระมหามัยมุนี ซึ่งแปลว่า “มหาปราชญ์” ขึ้นในปี พ.ศ.689 หรือเกือบสองพันปีมาแล้ว เหตุเพราะพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าพระสุบินประทานพรแก่พระเจ้าจันทสุริยะ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเชิดชูพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่จึงต้องหล่อแยกเป็นชิ้นแล้วจึงนำมาประสานกันได้ สนิทจนไม่เห็นรอยต่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ เชื่อกันว่าเป็นด้วยพรของพระศาสดาประทานไว้ ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามุนีเลื่องลือไปไกล จึงเป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่านับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักร พุกาม บุเรงนองมหาราชแห่งหงสาวดี และอลองพญามหาราชแห่งรัตนปุระอังวะล้วนเพียรพยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูป องค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นศิริมงคลแห่งดินแดนพม่าทุกยุคทุกสมัย







แต่ต้องล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารของเส้นทางที่เต็มไปด้วยแม่น้ำและภูเขาสูง
จนกระทั่งประสบความสำเร็จในสมัยพระเจ้าปดุง ก็สามารถนำเอาพระมหามุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327ในปัจจุบันชาวพม่ายังเรียกพระมหามุนีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระยะไข่”
 
วัด มหามัยมุนีมีธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับปูชนียสถานทุกแห่งในพม่าคือไม่ อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าใกล้องค์พระได้เท่าสุภาพบุรุษ ซึ่งสามารถขึ้นไปปิดทองที่องค์พระได้เลย โดยทางวัดกำหนดให้เขตสตรีกราบสักการะองค์พระได้ระยะใกล้สุดราว 10 เมตร แต่สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้ อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้สตรีสามารถสัมผัสองค์พระได้ โดยผ่านแป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี โดยทุกๆเช้า ทางวัดจึงจัดพื้นที่บริเวณลานด้านหน้าองค์พระ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิงช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคา เพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้ แล้วเอามาใส่ผอบรวมกันไว้มากๆ สำหรับนำไปผสมน้ำประพรมพระพักตร์องค์พระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุแห่งความศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระทุกๆรุ่งสาง เหมือนดั่งคนที่ต้องล้างหน้าแปรงฟันทุกเช้า โดยมีพระทำหน้าที่ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนีทุกวันตั้งแต่ราวตีสี่ครึ่ง โดยเริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำผสมเครื่องหอมทำจากเปลือกไม้ “ตะนะคา” ซึ่งชาวบ้านนำมาบริจาคให้วัดทุกวัน จากนั้นก็ใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟันแล้วใช้ผ้าเปียก ลูบไล้เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วทั้งพระพักตร์ จึงมาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้งและขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระ พัตร์นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดพระมหามัยมุนีจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบเป็นประกายวาว วามอย่างที่สุดองค์หนึ่ง
















 Kuthodaw Paya (Burmese: ku-tho-dau pei-ya) is site of the world's largest book, located at the foot of Mandalay Hill. Built by King Mingdon in the 1800s, 729 white stupas within the complex contain the complete text of the Tripitaka, Theravada Buddhism's most sacred text.

วัดกุโสดอร์ (Kuthodaw temple)
เป็นวัดที่พระเจ้ามินดง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 และพระองค์ทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และได้นำมาประดิษฐานในมณฑป อยู่รอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน สูง 30 เมตร ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม



















U Bein bridge, the longest teak bridge in the world.

The U Bein Bridge is a 1,2 km wooden footbridge (longest teak bridge in the world) and is built by the mayor U Bein, salvaging the unwanted teak columns from the old palace during the move to Mandalay. The bridge still serves as the most important communication link for the people of his villages.

 

สะพานไม้สักอูเบ่ง (U-Bein Bridge)
คือสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลกทอดข้ามระยะทาง 1.2 ก.ม. สร้างขึ้นหลังจากที่ย้ายราชธานีจากอมราปุระไปยังมัณฑะเลย์ โดยใช้ไม้สักจากอินน์วะ ผู้สร้างคือเสนาบดีของพระเจ้าโบ่ต่อพญา นามว่า อูเบ่ง

ปัจจุบันยังมีสภาพดีไม่ต่างจากเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน การเดินข้ามสะพานจะใช้เวลาราว 15 นาที ระหว่างทางมีที่พักอยู่หลายจุด ใช้เป็นที่หลบแดดในช่วงหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี
สะพาน ไม้อูเบ็ง(U-BEN)สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในโลกโดยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ชื่อว่า เสาอู เสาของสะพานใช้ไม้ สักถึง1,208ต้นซึ่งมีอายุกว่า 200ปี ทอดข้ามทะเลสาบคองตามัน(TOUNGTHAMON)ไปสู่วัดจอกตอจี ซึ่งมีเจดีย์ที่สร้างตามแบบวัดอนันดาแห่งพุกาม 


















Mingun - Mandalay
Just an hour's boat ride away from Mandalay, along the Ayeyarwady River, is the little town of Mingun. The public service boats, specially laid on for tourists, leave the Mayanchan jetty every morning. Early in the morning, in loud and strident tones, staccato prayers come rasping through loudspeakers, creating a strange though quite impressive scenario for the visitor who is keen to look behind the scenes of the tourist attractions. Even from a distance, one can see from the boat the massive ruins of the Mantara Gyi Pagoda (commonly known as Mingun Pahto), which was built by King Bodawpaya to be the biggest padoda in the world and was originally intended to reach a height of 152 meters. For precisely this purpose, between 1790 and his death in 1819, Bodawpaya had thousands of prisoners of war and slaves working on the construction of the stupa. It is said that there were too much dissatisfaction over the heavy burden of building this massive pagoda among the people and the ruling class alike and there came a tabaung (a prophesy); "as soon as the building of the pagoda was over, the country would also be gone". Thus the construction came to a halt, much relieved to the people. Only a third of Bodawpaya's dream was completed. Twenty years later, the mighty brick edifice was badly damaged in an earthquake. Nevertheless, the remains of the pagoda, 50 meters high and 72 meters wide, are still spectacular. It is possible to climb up it barefoot and from the top there is a magnificent view of the Ayeyarwady as fas as Mandalay.
 
• ล่องเรือแม่น้ำอิระวดีสู่มิงกุน
แม่น้ำ อิรวดี ซึ่งชาวพม่าเรียกว่า “เอยาวดี” แปลว่า “มหานที” นั้น ทั้งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตและอู่อารยธรรมหล่อเลี้ยงนับพันปี มีต้นกำเนิดมาจากขุนเขาในรัฐกะฉิ่น ทางตอนเหนือสุดของพม่าไหลผ่านใจกลางพม่าไปออกทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ที่เขตอิรวดีใกล้กรุงย่างกุ้ง คิดเป็นระยะทางรวม 2,170 กิโลเมตร มีจุดล่องเรือชมความงามของแม่น้ำอิรวดีหลายจุด แต่ที่ได้รับความนิยมจุดหนึ่งคือล่องจากชานเมืองมัณฑะเลย์ หรือจากท่าเรือใกล้เจดีย์ชเวไจยัต เขตเมืองอมรปุระ ทวนน้ำไปหมู่บ้านมิงกุน ซึ้งเป็นส่วนหนึ่งของอมรปุระ แต่อยู่บนเกาะกลางลำน้ำอิรวดีและไปได้ด้วยเส้นทางเรือเท่านั้นทว่ามีอนุสรณ์ สถานที่แสดงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าปดุง อันควรแค่แก่การไปเที่ยวชม โดยใช้เวลาล่องประมาณชั่วโมงครึ่ง รวบเวลาเที่ยวแล้วล่องกลับใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสามชั่วโมงครึ่ง
• ระหว่างทางจะได้เห็นหมู่บ้านอิรวดีที่มีลักษณะเป็น “กึ่งบ้านกึ่งแพ” เนื่องจากระดับน้ำอิรวดีในแต่ละฤดูกาลจะมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำจะขึ้นสูงกว่าฤดูแล้วกว่า 10 เมตร ชาวพม่าจึงนิยมสร้างบ้านกึ่งแพ คือถ้าน้ำขึ้นสูงก็ร่วมแรงกันยกบ้านขึ้นที่ดอน ครั้นน้ำลงมากก็ยกบ้านมาตั้งใกล้น้ำ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้แม่น้ำในชีวิตประจำวัน

























• เจดีย์มิงกุน
• เจดีย์มิงกุน
เมื่อขึ้นฝั่งที่ท่าเรือหมู่บ้านมิงกุนจะพบโบราณสถานจุดแรกคือ เจดีย์เซตตอยา ซึ่งพระเจ้าปดุงโปรดฯให้สร้างครอบรอยพระพุทธบาทจำหลังบนหินอ่อน เป็นสัญลักษณ์ของการก้าวย่างสู่ดินแดนที่พระเจ้าปดุงมีพระราชดำริจะสร้างเจดีย์มิงกุน หรือ “เจดีย์จักรพรรดิ” ที่ใหญ่ที่สุดและสูงกว่าเจดีย์ใดๆในสุวรรณภูมิ
• จุดต่อมาคือซากเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างไม่เสร็จ มีสิงห์คู่ประดับอยู่ด้านหน้า นั่นคือเจดีย์มิงกุน ร่องรอยแห่งความทะเยอทะยานของพระเจ้าปดุง ด้วยภายหลังทรงเคลื่อนทัพไปตียะไข่ แล้วสามารถชะลอพระมหามัยมุนีมาประดิษฐานที่มัณฑะเลย์เป็นผลสำเร็จ จึงทรงฮึกเหิมที่จะกระทำการใหญ่ขึ้นและยากขึ้น ด้วยการทำสงครามแผ่ขยายไปรอบด้าน พร้อมกับเกณฑ์แรงงานข้าทาสจำนวนมากก่อสร้างเจดีย์มิงกุนหรือเจดีย์จักรพรรดิ เพื่อประดิษฐานพระทันตธาตุที่ได้จากพระเจ้ากรุงจีนโดยทรงมุ่งหวังให้ยิ่ง ใหญ่เทียบเท่ามหาเจดีย์ในสมัยพุกาม และใหญ่โตโอฬารยิ่งกว่าพระปฐมเจดีย์ในสยาม ซึ่งในเวลานั้นถือเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ข้าทาสชาวยะไข่หรืออาระกันจำนวน 50,000 คนหลบหนีการขดขี่แรงงานไปอยู่ในเขตเบงกอล เป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ แล้วทำการซ่องสุมกำลังเป็นกองโจร ลอบโจมตีกองทัพพม่าอยู่เนืองๆโดยพม่ากล่าวหาว่าอังกฤษหนุนหลังกลายเป็นฉนวน ให้เกิดสงครามอังกฤษ-พม่า อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าเสียเมืองในที่สุด
• อย่างไรก็ตาม งานก่อสร้างเจดีย์มิงกุนดำเนินไปได้เพียง 7 ปี พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคต ภายหลังทรงพ่ายแพ้ไทยในสงครามเก้าทัพ มหาเจดีย์อันยิ่งใหญ่ในพระราชหฤทัยของพระองค์จึงปรากฏเพียงแค่ฐาน ทว่าใหญ่โตมหึมาดั่งภูเขาอิฐที่มีความมั่นคงถึง 50 เมตร ซึ่งหากสร้างเสร็จตามแผนจะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดและสูงที่สุดในโลก เพราะสูงถึง 152 เมตร ส่วนรอยแตกร้าวตรงกลางฐานเกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 



















Hsinbyume Pagoda

 On the northern edge of Mingun stands the impressive Hsinbyume Pagoda (Myatheindan Pagoda), built by King Bagyidaw - a grandson of Bodaypaya - in 1816, in memory of his favorite wife. Its unusual architecture is quite striking. It is based on the Sulamani Pagoda on the peak of the mythical golden mountain of Meru, which is the center of the universe in Buddhist-Hindu cosmology. Seven terraces with with undulating rails - representing the seven mountain ranges around Mount Meru - lead up the stupa, and all the way along are niches in which mythical monsters such as Nats, orgres and Nagas (mythical serpents) stand guard.

• เจดีย์ชินพิวมิน (เมียะเต็งดาน)
ประดิษฐาน อยู่เหนือระฆังมิงกุนไม่ไกล ได้ชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สวยสง่ามากแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2359 โดยพระเจ้าบากะยีดอว์ พระราชนัดดาในพระเจ้าปดุง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่พระองค์มีต่อพระมหาเทวีชินพิวมิน ซึ่งถึงแก่พิราลัยก่อนเวลาอันควร จึงได้รับสมญานามว่า “ทัชมาฮาลแห่งลุ่มอิรวดี” เจดีย์องค์นี้เป็นพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นด้วยหลักภูมิจักรวาลคือมีองค์เจดีย์ สถิตอยู่ตรงกลาง ณ ยอดเขาพระสุเมรุ อันเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางและโลกและจักรวาล ล้อมรอบด้วยขุนเขาและมหาสมุทรตามหลักไตรภูมิ












งานหัตถกรรมในมัณฑะเลย์

การทำทองคำเปลว













การแกะสลักพระหินอ่อน






โรงงานทอผ้าพื้นเมือง
















No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......