Thursday, 22 November 2012

บันทึกการเดินทางกาฐมาณฑุ ตอน3 (หมู่บ้าน Sankhu และ Bajrayogini Temple )

Sankhu , Sakwa , सक्व

Sankhu (alternative name: Sakwa (Nepal Bhasa: सक्व)) is a village development committee in Kathmandu District in the Bagmati Zone of central Nepal. At the time of the 1991 Nepal census it had a population of 2097 living in 353 individual households.[1]
This place is also known as the Eighty Siddhas as there are four of five caves where the siddhas of India are said to have stayed. One of the caves is also said to have been the practice cave of Nagarjuna, and an image of the great master which was originally in the cave has been taken outside and placed some distance away.
The present temple was built by Raja Prakas Malla in 1655. It enshrines the main sacred representations of this site, Ugra-tara manifesting as Ekazati, which are said to give very powerful blessings, particularly the image in the upper temple. The image in the lower temple is red in colour with one face and four arms, two of which hold a skull-cup (kapala) and knife at her heart, and the remaining two hold a sword and an utpala lotus. In the upper temple is an identical image of Ugra-tara in bell metal, in which her left leg is outstretched. In the upper temple is the loom of the Nepali Princess Brhikuti, spouse of the Tibetan king Songtsen Gampo. In both the upper and lower temples, Vajrayogini is flanked Baghini and Singhini, the Tiger and Lion-headed Yoginis. In the same upper room in the upper temple is a solid bronze standing Buddha and a standing Lokeshvara. Below this shrine room is a small room containing self-arisen (swayambhu) stupa in stone.
On the hill behind there is a courtyard in the centre of which is a basin containing the “Water of the Kalpa” which never dries up. In the building immediately to the left of the stairs, there is also an eternal fire or “Fire of the Kalpa”. Further up, on top of the hill, is the Mani-linga.
Nearby villages include Palubari.

From Wikipedia, the free encyclopedia





  บันทึกการเดินทางท่องเที่ยว ในหุบเขากาฐมาณฑุ ได้ผ่านไป 2 ตอนแล้ว คือ ปศุปตินาถ และ โพธนาถ

 จากข้อมูลบนเน็ตภาคภาษาไทย มีข้อมูลน้อยมาก ดูเหมือนทัวร์ไทยไม่นิยมไปที่นี่กันเลย ทั้งๆที่นี่มีวัดศักดิ์สิทธิ์ที่คนเนปาลเคารพนับถือม ากที่สุดอยู่ เหตุผลเป็นอย่างไรติดตามต่อไปจะเฉลยให้ทราบค่ะ

หมู่บ้านชางกู ( Sankhu ) อยู่ทางตะวันออกของหุบเขากาฐมาณฑุ อยู่เลยจาก โพธนาถ ไปอีกประมาณ 15 กม. หรือ 20 กม. จากกาฐมาณฑุ หมู่บ้านนี้ตามประวัติว่า เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดในหุบเขากาฐมาณฑุ

หลังจากเก็บข้าวของเช็คเอาท์ออกจากโรงแรมทิเบตฯ แล้ว ก็มุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านชางกู แห่งนี้ ระหว่างทางจะผ่านชุมชน และ ทุ่งนาเป็นระยะ ช่วงนี้ขอมานั่งหน้าข้างคนขับ ไล่ไกด์ให้ไปนั่งด้านหลังแทน

ก็ได้ทดลองว่า ระบบกันสั่น 5 ทิศทางของ OM-D จะทำงานได้ผลจริงไม๊ บนถนนที่ขรุขระ โยกไปโยกมาจะสามารถถ่ายภาพจากบนรถได้หรือไม่












 หัวสั่นหัวคลอนพักใหญ่ ก็เข้าเขตหมู่บ้านชางกู แต่ก็ดูไม่เห็นจะเก่าแก่เท่าไหร่ ดูทันสมัยกว่าที่คิดด้วยซ้ำ

รถวิ่งมาจนสุดทางก็จอดให้ลงเดินขึ้นเขา ไปวัดBajrayogini พอเห็นบันไดทางขึ้นและเห็นจุดหมายปลายทาง ถึงได้เข้าใจว่าทำไม คนไทยไม่มาที่นี่กันเลย เพราะต้องเดินขึ้นบันไดไม่รู้กี่ร้อยขั้นนี่เอง
แต่ก็เข้าใจหลอกให้คิดว่าไม่สูงมาก เพราะทางที่หักศอกจนมองไม่เห็นปลายทาง ทำให้พอมีกำลังใจตะกายขึ้นไปจนได้
 




 ถึงตอนนี้ ก็ไล่ให้คนหนุ่ม คนสาว เดินล่วงหน้าไปเลย ไม่ต้องรอป้าที่ขอค่อยๆตะกายตามหลังไป ขอบอกว่าเหนื่อยมากๆ ดีว่าได้มาหยุดหายใจครึ่งทางตรงที่มีจุดพักและมี รูปบูชาของเทพข้างทาง
สีแดงๆที่เห็นจากภาพไม่ใช่สีแดงนะ แต่เป็นเลือด คงจะเป็นเลือดสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อบูชายัณบูชาเทพ ชโลมแดงเทือกส่งกลิ่นคาว 









 ลายแกะสลักริมทาง และหน้าของตัวอะไรที่อยู่กับพื้นริมขอบบันได เหมือนยามเฝ้าบันได








 เกือบจะถอดใจ นั่งรอริมทางแล้ว แต่น้ายักษ์ คุณเกายืนยันว่าเดินขึ้นอีกหน่อยเดียวจะถึงยอดแล้ว ตัดใจยอมลากสังขารตามขึ้นไป ขอบคุณน้ายักษ์ที่อยู่รั้งท้ายคอยเป็นเพื่อนให้กำลัง ใจเป็นระยะ








 ในเทวสถานนี้มีเทพีBajrayogini ประดิษฐานอยู่ เหมือนเคยห้ามถ่ายรูปด้านใน แอบถ่ายด้านนอกไว้นิดหน่อย

เทพองค์นี้ ทุกปีจะงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ จะมีขบวนอัญเชิญแห่ไปยังกาฐมาณฑุ และช่วงเทศกาลจะมีผู้คนมากราบไหว้ของพรยาวเหยียด








 เมื่อห้ามถ่าย ก็ย้ายไปถ่ายอาคารข้างๆติดกัน แสงเงากำลังสวยงาม









 แสงเงาช่วงนี้ เห็นแล้วคิดถึง อ.ภู จริงๆ ถ้ามาด้วยตอนนี้อาจารย์คงสนุกกับแสงเงา แสงหยอด อย่างนี้แน่










 ด้านบนอีกนิดมีร้านค้าให้นั่งพัก ดื่มน้ำและถ่ายเด็กๆ คราวนี้เตรียมท๊อฟฟี่มาเยอะ แจกท๊อฟฟี่ก็ถ่ายรูปได้ไม่ต้องเสียเงิน

















 ขาขึ้นแทบขาดใจตาย ขาลงแป๊บเดียวก็ถึงรถที่จอดรอแล้ว







 วิวระหว่างกลับ เพื่อย้ายที่พักไปพักใน ปักตาปูร์










 โปรดติดตาม ปักตาปูร์ ได้ในตอนที่4

 



ติดตามตอนที่เหลือได้ที่


No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......