Saturday, 13 July 2013

Taj Mahal แด่นางผู้เป็นที่รักยิ่ง

The Taj Mahal is the epitome of Mughal art and one of the most famous buildings in the world. Yet there have been few serious studies of it and no full analysis of its architecture and meaning. Ebba Koch, an important scholar,  has been permitted to take measurements of the complex and has been working on the palaces and gardens of Shah Jahan for thirty years and on the Taj Mahal itself—the tomb of the emperor's wife, Mumtaz Mahal—for a decade.

 The tomb is the representation of the house of the queen in Paradise, and  its setting was based on the palace gardens of the great nobles that lined both sides of the river at Agra India.  You will explore the entire complex of the Taj Mahal with an explanation of each building and an account of the mausoleum's urban setting, its design and construction, its symbolic meaning, and its history up to the present day.

Taj Mahal was built in 22 years (1631-1653) with the orders of Shah Jahan and it was dedicated to Mumtaz Mahal (Arjumand Bano Begum), the wife of Shah. 20.000 workers labored and 32 crore rupees were spent during the construction of the monument and it was built according to Islamic architecture. It is one of the Unesco world heritage site.

Taj Mahal means the’ Place of the Crown’ because; Taj means “Crown” and Mahal means “place”. There are several myths about Taj Mahal.

According to one of the myths, the construction is sinking and it is known that in spite of all the precautions, cracks were discovered in it just 4 years after its completion and that it was tilting towards the riverside.

According to another myth a number of items such as diamonds, a gold leaf which covered the part of the dome, a pearl blanket etc that were originally a part of the Taj were stolen.

It is also told that Shah Jahan got the hands of his sculptors and architects cut off so that they would never be able to build a monument as magnificent and beautiful as the Taj again and he even got their eyes pulled out so that they would never be able to witness anything bigger and more beautiful than the monument that they had built during their lifetime. 
from http://www.tajmahal.com/



ตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของทริปท่องแคว้นราชาสถาน ที่ผ่านไปแล้ว 3 ตอนคือ

เมืองสีทอง จัยซัลแมร์ http://somersetmghm.blogspot.com/2013_05_01_archive.html
เมืองสีฟ้า จ๊อดปูร์ http://somersetmghm.blogspot.com/2013/06/jodhpur.html
เมืองสีชมพู จัยปูร์ หรือ ชัยปุระ http://www.pict4all.com/vboard/showt...9-%28Jaipur%29

ตอนสุดท้ายนี้ เราออกเดินทางออกจากแค้วนราชาสถาน มายังเมืองอัครา รัฐอุตตรประเทศ อันเป็นที่ตั้งของ ทัชมาฮาล อนุสรณ์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ของ ชาห์จะฮาน มุมตาชมาฮาล ที่มีต่อ พระนางมุมตัสมาฮาล พระมเหสีของพระองค์ ที่ยามมีชีวิตจะอยู่เคียงข้างพระองค์ทั้งในสนามรบและ การบริหารแผ่นดิน ก่อนจะสิ้นพระชนม์ระหว่างมีประสูติกาลพระราชธิดา องค์ที่ 14 ซึ่งยังความโศรกเศร้าเสียใจอย่างใหญ่หลวงให้กับ ชาห์จะฮาน มุมตาชมาฮาล



 เช้าของวันที่8 ของทริป เราออกเดินทางจากเมืองจัยปูร์ โดยนัดรถแท๊กซี่ให้มารับพวกเราที่โรงแรม Jai Niwas ตอนตีสี่ รถที่มารับคราวนี้เป็นรถเก๋งสภาพดีมาก แอร์เย็นฉ่ำ คนขับมารยาทดี

เจอรถแอร์เย็นๆ คนขับขับดี ไม่ช้าไม่นานพวกเราก็หลับกันเงียบ คงสักราวๆ 2 ชั่วโมง งัวเงียตื่นขึ้นมาได้ทันเห็นอูฐที่คนที่นี่ใช้งานบรร ทุกของแทนวัว อากาศขมุกขมัว หมอกค่อนข้างหนา เอ....มันฤดูอะไรกันเนี่ย

ข้างทางมีโรงเผาอิฐ 2-3 โรง ที่พวกเรามาบ่นกันภายหลังว่าเสียดายไม่ได้แวะถ่ายภาพ เพราะตอนนั้นทุกคนกำลังหลับสบาย ตื่นมาก็เลยยังไม่มีสติดีพอที่จะขอให้คนขับหยุดรถให้ ถ่ายภาพ



เรามาถึงเมืองอัคราประมาณ 8 โมงเช้า หลังคนขับวนไปวนมาเพื่อหาร้านอาหารให้พวกเราได้แวะทา นอาหารเข้า หยุดพักทานอาหารเช้าที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก เกิือบสิบโมง พวกเราก็ได้เข้าทัชมาฮาล ถึงจะเป็นเวลาเช้าแต่นักท่องเที่ยวก็หนาแน่นแล้ว ผ่านด่านการตรวจค้นที่เข้มข้นมาก ยิ่งกว่าสนามบิน ห้ามใช้ขาตั้งกล้องคงกลัวพื้นหินอ่อนเป็นรอย เราพกกล้วยหอมใส่เป้ หวังจะไว้เป็นเสบียงก็โดนห้ามต้องโยนทิงถังขยะด้วยคว ามเสียดาย เหลือแค่น้ำดื่มขวดเล็กๆขวดเดียวเท่านั้น

เห็นคนเยอะมาก นัดกันว่า บ่ายสองโมง มาพบกันตรงประตูทางเข้า จากนั้นก็แยกย้ายกันไปตัวใครตัวมัน



จากประตูทางเข้า เมื่อผ่านด่านตรวจอาวุธเข้ามาแล้ว จะพบซุ้มประตูขนาดมหึมาสีแดงส้มนี้








ผ่านซุ้มประตูแล้ว เราจะพบ ทัชมาฮาล ขาวสะอาดปรากฏอยู่ตรงหน้า มีทางเดินที่มีสระน้ำแคบๆยาวขนานกับทางเดิน

ท้องฟ้าตุ่นๆ สีขาว ผู้คนมากมายล้นหลาม มุมที่สวยที่สุดก็ถูกจับจองโดยช่างภาพท้องถิ่น ที่หากินกับการถ่ายภาพที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวต่อคิวถ่ายรูปไม่ขาดสาย เรารอจังหวะเปลี่ยนคน แทรกตัวเข้าไปยืนถ่ายภาพ ได้แค่แชะ2แชะ ก็โดนสะกิดให้หลบ

หลบก็ได้ฟะ... ไม่ได้กลัวนะ แต่ฟ้าก็ไม่สวย คนก็เยอะบังมุมหมด

พยายามรอจังหวะ ก๊อปมุมโปรเกาที่เคยเห็นในหนังสือ ที่มีฉากหน้าเป็นมุมขอบสระที่โค้งสวย และ ทัชมาฮาลเบื้องหลัง กับท้องฟ้าตุ่นขาว ผู้คนเกะกะ ได้ดีที่สุดแค่นี้แหละ







ลองหลบเข้าขวา ถ่ายผ่านพุ่มไม้ดูบ้าง










การก่อสร้างทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อนขาวชนิดเยี่ยมทั้งสิน สถาปนิกที่ออกแบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ กษัตริย์ชาห์ชะฮานได้เชิญสถาปนิกเอกทั่วอินเดีย และประเทศเตอร์กี เปอร์เซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน ผู้ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมซึ่งกษัตริย์ชาน์ชะฮานคัดเลือ กคือ มุหะมัด อิซเอฟันดี ชาวเตอรกี โดยมี มุหะมันชารีฟ แห่งแคว้นซามาระกันต์ เป็นผู้ช่วย ทั้งสองได้รับเงินเดือนๆละ 1 พันรูปี

วัสดุก่อสร้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ

1. หินอ่อน ได้จากเมืองชัยปุระ
2. ศิลาแลง จากฟาเตปุรริขรี
3. พลอยสีฟ้า จากธิเบต
4. พลอยสีเขียว จากอียิปต์
5. หินสีฟ้า จากคัมภัย
6. โมรา จากคัมภัย
7. เพชร จากเมืองฟันนา
8. หินทองแดง จากรัสเซีย
9. หินทราย จากแบกแดด

ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผนัง เกิดจากการแกะสกัดหินอ่อนและนำพลอยหรือหินสีฝังลงไปใ ห้เป็นลวดลายดังที่เห็น
 




น่าเสียดายว่า ภายในทัชมาฮาล ห้ามถ่ายรูป ได้แต่เดินดู

ทัชมาฮาล ตั้งอยู่ริมโค้งแม่น้ำยมุนา อากาศร้อนจนแม่น้ำแห้งขอดเกือบหมด





ซ้าย ขวา ของทัชมาฮาล เป็นมัสยิด สร้างด้วยหินสีชมพู แดงอมส้ม แบบเดียวกับที่เห็นที่จัยปูร์ ภายในสร้างและแกะสลักลวดลายงดงาม







 เมื่อมองผ่านซุ้มประตูโค้ง จะได้ภาพทัชมาฮาลที่งดงามด้วยกรอบภาพ






เก็บภาพสักพัก หิวน้ำเหลือกำลัง เพราะน้ำหมดไปตั้งแต่ตอนเที่ยงแล้ว อากาศร้อนมากจนเริ่มปวดหัว เดินออกมาตรงทางเข้า หวังเล็กๆว่าอาจมีน้ำขาย ก็ไม่มีอะไรขายเลย นั่งหมดหวัง หิวน้ำรอ 2 หนุ่ม ตรงทางเข้าจุดนัดพบนั่นแหละ หมดมุข หมดอารมณ์ถ่ายภาพ




บ่ายสองโมง ตามนัด พวกเราก็ออกจากทัชมาฮาล จุดหมายต่อไปคือ ป้อมอัครา แต่ขอแวะหาซื้อน้ำ และทานข้าวเที่ยงกันหน่อย

เมืองนี้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีศูนย์การค้า มีร้านKFC เราเลือกทานที่นี่แหละ นั่งพักเหนื่อยกันพักใหญ่ๆ ก็เดินทางกันต่อ

ป้อมอัครา เป็นป้อมปรากรารที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สร้างเป็นกำแพงล้อมรอบพระราชวังของ กษัตริย์โมกุล มีความยาว ๒.๕ กิโลเมตร ภายในประกอบด้วยพระราชวัง เช่น วังจาฮานกีร์(Jahangir) และคาสมาฮาล(Khas Mahal) ซึ่งสร้างโดยชาห์จาฮาน(Shah Jahan) ห้องท้องพระโรงใหญ่ เช่น ไดวาน-อิ-คาส(Diwan-i-Khas) และสุเหร่าที่งดงามมากอีก ๒ หลัง




เราผ่านประตู และถูกเรียกตรวจตั๋วจากคนที่เรานึกว่าเป็นเจ้าหน้าที ่ ส่งตั๋วทัชมาฮาลที่มีรูปป้อมนี้ด้วย แต่ชายคนนี้บอกว่าใช้ไม่ได้ต้องซื้อตั๋วใหม่ราคาแพงม าก เราก็ยื่นพาสปอร์ตคนไทยให้ดู เสียค่าตั๋วใหม่ 50 บาท

จากนั้นชายคนนั้นก็แสดงตนว่า เป็นไกด์ขอพาพวกเราเที่ยวชมป้อม
มาบทนี้ พี่ไทยไม่เล่นด้วย พวกเราส่ายหัวไม่เอา คราวนี้ชายคนนี้ทวงบุญคุณที่ช่วยซื้อตั๋วให้ เราก็คิดในใจ ชั้นไม่ได้ขอความช่วยเหลือนี่ ถ้าผ่านประตูเจอเจ้าหน้าที่ ก็คงได้รับการแนะนำแบบนี้แหละ เอ็งไม่ได้มีบุญคุณอะไรเลย ก็เลยเดินหนี ให้เจ้าหน้าทีฉีกตั๋วเดินเข้าภายในป้อม



Agra's history goes back more than 2500 years, but it wasn't until the reign of the Mughals that Agra became more than a provincial city.
 Humayun, son of the founder of the Mogul empire, was offered jewelry and precious stones by the family of the Raja of Gwalior, one of them the famous Koh-i-Noor.
The heyday of Agra came with the reign of Humayun's son, Akbar The Great. During his reign, the main part of the Agra fort was built. Construction of the fort started in 1156 and was finished in 1605. Shah Jahan, who built the Taj Mahal, erected most of the buildings inside the fortress.

As a matter of fact, the emperor Shah Jahan, who built the Taj, was imprisoned by his son Aurangzeb in the Agra Fort where he had a view on the building erected for his deceased wife. Shah Jahan is said to have died in the Musamman Burj, a tower with a beautiful marble balcony. From there you probably have the best view on the Taj. Between the many pavilions, you find small well maintained gardens. 

ป้อมอัครานี้ใหญ่โตมาก และมีความเป็นส่วนตัว หรือมีความเป็นพระราชวัง มากกว่า 2-3 ป้อมที่ผ่านมา ดูสงบเงียบไม่ค่อยพลุกพล่าน ทั้งที่ที่คนก็เยอะ อาจเพราะไม่มีคนขายของ ไม่มีวณิพกกวนใจ





ขึ้นไปยัง ระเบียงชั้นที่สองที่มีเฉลียงมุขซึ่งสามารถมองเห็นชม ทิวทัศน์ ลำน้ำยมุนาได้







พระตำหนักมาซัมมัน บูร์ช ที่มีเฉลียงมุขแปดเหลี่ยม มีหน้าต่างเปิดกว้าง ซึ่งสามารถมองเห็นทัชมาฮาลได้ ที่พระตำหนักนี้เองที่เล่ากันว่า

กษัตริย์ชาห์จาฮัน เฝ้าระทมเพราะการจากไปของมุมทัชมาฮาล มเหสีสุดที่รักอยู่เป็นเวลา 36 ปี ก็พอดีเกิดศึกกลางเมือง มีการแย่งยิงราชบัลลังก์ขึ้นระหว่างพระโอรสของกษัตริ ย์ชาห์จาฮันเอง กษัตริย์ชาห์จาฮันถูกจับไปขังไว้ที่ป้อมใหม่เมืองอัค ระนาน 7 ปี เอารังเซบโอรสของกษัตริย์ชาห์จาฮานขึ้นครองบัลลังก์แทน








กษัตริย์ชาห์จาฮานได้สวรรคตที่ป้อมแห่งนี้ ก่อนสิ้นใจได้ขอให้ชาราพาประคองศีรษะของพระองค์ขึ้น ให้มองเห็นภาพทัชมาฮาล เพื่อระลึกถึงยอดรักของพระองค์ในนาทีสุดท้าย







นิยายรักอมตะ ก็ปิดฉากลง พวกเราก็เดินชมส่วนต่างๆไปเรื่อยๆ หาแสงหาเงา หาคนเป็นแบบเก็บภาพกัน




เก็บโน้นเก็บนี่แบบเรื่อยๆ

บางมุม ก็ปักหลักถ่ายคนที่ผ่านไปผ่านมาตรงนั้นแหละ






นั่งพักกันจนแสงโรย จึงเคลื่อนย้ายออกมาจากป้อมอัครา



ตรงทางออกนี่เอง ระหว่างนั่งรอ 2 หนุ่มแวะเก็บภาพ ได้เจอะเจอกลุ่มแม่บ้านที่ขอถ่ายภาพหมู่ที่ป้อมอัมเบ อร์เมืองจัยปูร์ ป้าๆน้าๆกลุ่มนี้ พอเห็นเราก็ตรงดิ่ง เข้ามาทักทายแบบยินดีปรีดาเหมือนพบญาติ ตอนเรกเราก็งงๆ เพราะคนอินเดียเราดูแล้วเหมือนๆกัน แต่ท่าทีที่แสดงทำให้นึกได้ ก็ยินดีตอบจับมือทักทายกัน พบเจอมิตรภาพน้ำใจขนาดนี้ทำให้หัวใจพองโต หายเหนื่อยได้เหมือนกัน

ออกจากป้อมอัครา เราตรงไปยังฝั่งแม่น้ำตรงข้ามทัชมาฮาล เพื่อหวังเก็บภาพแสงสุดท้ายของทัชมาฮาล และลุ้นว่าจะมีการเปิดไฟทัชมาฮาลหรือไม่ แวะถามทางกับชาวบ้านริมทาง




เราวางแผนกันว่าจะเดินเลาะริมแม่น้ำ หาภาพทัชมาฮาลสะท้อนน้ำ แต่เจ้าหน้าที่ขึงลวดหนามและไม่ยอมให้ผ่าน ไม่รู้เหตุผลเหมือนกัน หรือมืดแล้วเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว แต่ก็เห็นไล่ชาวบ้านที่เก็บของอยู่นอกรั้วให้เข้ามาด้วย





ฟ้าก็หมอง มืดแล้วมืดเลยไม่มีฟ้าแดง ฟ้าบลูให้เห็น ตัวทัชมาฮาลพอมืดก็ไม่มีการเปิดไฟ

ก็คงได้แค่นี้สำหรับทัชมาฮาล ในวันฟ้าหมอง



No comments:

Post a Comment

ผ่านมาแล้วอย่าผ่านเลยไป แวะทักทายกันสักนิด......